ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทาง
วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้
โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
ผู้วิจัย นางศรีภา สายซอ
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถ
ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้
1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลัง
ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กับเกณฑ์(ร้อยละ 80)
3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัด
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับเกณฑ์ ( ร้อยละ 80 )
ระเบียบวิจัยพัฒนา แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช โดยผู้วิจัยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พิจารณาความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้และเอกสารประกอบการเรียนรู้ แล้วนำแผนการจัดการเรียนรู้และเอกสารประกอบการเรียนรู้
ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเมืองแพร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 43 คน โดยแบ่งนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม คือ นักเรียน จำนวน 3 คนเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมทางด้านภาษา เวลา แล้วปรับปรุงแก้ไข จากนั้นนำมาทดลองใช้กับนักเรียน จำนวน 10 คน เพื่อหาความบกพร่อง ความเหมาะสมของกิจกรรม เนื้อหา เวลาที่ใช้และปัญหาต่างๆ ของแผนการจัดการเรียนรู้และเอกสารประกอบการเรียน แล้วนำข้อบกพร่องที่พบมาปรับปรุงแก้ไข หลังจากนั้นนำไปทดลองใช้กับนักเรียน จำนวน 30 คน เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้และเอกสารประกอบการเรียน ตามเกณฑ์ 80/80 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้และเอกสารประกอบการเรียน และแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช จำนวน 10 แผน เอกสารประกอบการเรียนรู้ จำนวน 4 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และเอกสารประกอบการเรียน สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช โดยนำแผนการจัดการเรียนรู้และเอกสารประกอบการเรียนมาใช้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเมืองแพร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเจาะจง แบบแผนวิจัยที่ใช้ในการทดลอง คือ One Group Pretest-Posttest Design และ One short case study เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช จำนวน 10 แผน เอกสารประกอบการเรียนรู้ จำนวน 4 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความสามารถใน
การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ
t-test Dependent และ t-test one-sample
ผลการวิจัย พบว่า
1. หลังการจัดการเรียนรู้ นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าก่อนได้รับ
การจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. หลังการจัดการเรียนรู้ นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. หลังการจัดการเรียนรู้ นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. หลังการจัดการเรียนรู้ นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05