บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียน เรื่อง คำควบกล้ำและอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง คำควบกล้ำ และอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน
เรื่อง คำควบกล้ำและอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ
4) เพื่อศึกษาความคิดเห็น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง คำควบกล้ำและอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวัดด่านสำโรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 32 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มี 4 ชนิด ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง คำควบกล้ำและอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำควบกล้ำและอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 16 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำควบกล้ำและอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ชุด 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.76 และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.75 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.71 และแบบสอบถามความคิดเห็น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและ
การเขียน เรื่อง คำควบกล้ำและอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t - test for Dependent Samples
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง คำควบกล้ำและอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ ( / ) เท่ากับ 86.60 / 85.10
2. ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง คำควบกล้ำและอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.7014 หรือคิดเป็นร้อยละ 70.14
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและ การเขียน เรื่อง คำควบกล้ำและอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง คำควบกล้ำและอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.65 ) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีความเหมาะสมมากที่สุดทุกด้าน