บทคัดย่อ
การพัฒนาคุณภาพการบริหารศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2556-2558
วริศรา คำนึงธรรม*
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาคุณภาพการบริหารศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2556 2558 (2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทักษะ และ เจตคติต่อการคิดเป็นในกรอบความพอเพียง ก่อนและหลังจัดโครงการการพัฒนาคุณภาพการบริหารศูนย์ ก่อนและหลังใช้คู่มือการบริหารศูนย์ หลักสูตรบูรณาการการคิดเป็นในกรอบความพอเพียง และคู่มือการใช้หลักสูตร (3) เพื่อศึกษาผลการติดตามการนำความรู้ และทักษะการคิดเป็นในกรอบความพอเพียง ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันหรือการประกอบอาชีพ หลังจัดโครงการฯ (4) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชนและภูมิปัญญา ในการบริหารศูนย์หลังจัดโครงการฯ (5) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูและบุคลากร ผู้ภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชน และภูมิปัญญา และประชาชนผู้รับบริการ ต่อคุณภาพการบริหารศูนย์ หลังจัดโครงการฯ (6) เพื่อศึกษาผลการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการบริหารศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร ภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชนและภูมิปัญญา และประชาชนผู้รับบริการหลังจัดโครงการฯ แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) จำนวน 3 รอบ และแบบแผนการทดลอง ใช้ตอบวัตถุประสงค์การวิจัย ข้อ 2, ข้อ 3,ข้อ 4, ข้อ 5, และ ข้อ 6, กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นประชากรทั้งหมด แยกเป็นประชาชนผู้รับบริการจาก 6 ตำบลในพื้นที่อำเภอบางซ้าย ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมปีละ จำนวน 180 คน ภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชนและภูมิปัญญา จำนวน 55 คน และครูและบุคลากร 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ประเภท คือ (1) เครื่องมือพัฒนาคุณภาพการบริหาร ได้แก่ โครงการการพัฒนาคุณภาพการบริหารศูนย์ หลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร และคู่มือการบริหารศูนย์ (2) เครื่องมือศึกษาคุณภาพการบริหารศูนย์ ได้แก่ แบบทดสอบวัดความรู้ แบบวัดทักษะ แบบวัดเจตคติ แบบสอบถามและแบบติดตามการนำไปใช้ประโยชน์ แบบสอบถามการมีส่วนร่วม แบบสอบถามความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริหาร และแบบสะท้อนผล ผู้ให้ข้อมูลมี 5 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลความรู้ ทักษะ และเจตคติก่อนและหลังจัดโครงการฯ ได้แก่ ประชาชนผู้รับบริการ (2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลการนำความรู้ และทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือการประกอบอาชีพ ได้แก่ ประชาชนผู้รับบริการ
*ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ศูนย์การศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
และครูและบุคลากร (3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลการมีส่วนร่วมบริหารศูนย์ ได้แก่ ภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชนและภูมิปัญญา (4) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริหารศูนย์ ได้แก่ ครูและบุคคลากร ภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชนและภูมิปัญญา และประชาชนผู้รับบริการ (5) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลการปรับปรุงและพัฒนาศูนย์ ได้แก่ ครูและบุคลากร ตัวแทนภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชน ภูมิปัญญา และตัวแทนประชาชนผู้รับบริการ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์ (SPSS) การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าตัวกลางเลขคณิตของกลุ่มประชากร ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มประชากร และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
การพัฒนาคุณภาพการบริหารศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2556-2558 ตั้งอยู่ที่บ้านโคกห้วย หมู่ที่ 7 ตำบลเทพมงคล อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย ขับเคลื่อนผ่านโครงการการพัฒนาคุณภาพการบริหารศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง คู่มือการบริหารศูนย์ หลักสูตรบูรณาการการคิดเป็นในกรอบความพอเพียง และคู่มือการใช้หลักสูตร ผลการพัฒนาช่วยให้การบริหารมีคุณภาพดีขึ้น วัดได้จากความรู้ ทักษะ เจตคติต่อการคิดเป็นในกรอบความพอเพียง และการนำความรู้และทักษะการคิดเป็นในกรอบความพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือประกอบอาชีพ ของประชาชนผู้รับบริการ การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชนและภูมิปัญญา และความคิดเห็นของครูและบุคลากร ภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชนและภูมิปัญญา และประชาชนผู้รับบริการต่อคุณภาพการบริหารบุคคล การบริหารงบประมาณ การบริหารทั่วไป และการบริหารวิชาการตามบริบทที่เกี่ยวข้องของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลปรากฏดังนี้ (1) การเปรียบเทียบความรู้ ทักษะ และเจตคติ ต่อการคิดเป็นในกรอบความพอเพียง ก่อนและหลังจัดโครงการ พบว่า หลังจัดโครงการด้านความรู้ของทุกตำบล ทุกปีงบประมาณ มีค่าตัวกลางเลขคณิตอยู่ในระดับดี สูงกว่าก่อนจัดโครงการฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) หลังจัดโครงการฯ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ พบว่า ประชาชนผู้รับบริการนำความรู้และทักษะการคิดเป็นในกรอบความพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือการประกอบอาชีพ อยู่ในระดับมาก และนำความรู้และทักษะการคิดเป็นในกรอบความพอเพียงไปใช้ประโยชน์ มากกว่าร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ (3) ภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชนและภูมิปัญญามีส่วนร่วมบริหารศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจเพียง อยู่ในระดับมาก และมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริหารศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับดี สำหรับครูและบุคลากรมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริหารศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากและประชาชนผู้รับบริการมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริหารศูนย์อยู่ในระดับดี
ผลการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการบริหารศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร ภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชนและภูมิปัญญา และประชาชนผู้รับบริการ ปรากฏผลดังนี้
1. ด้านการบริหารบุคคล ด้วยการจัดทำประกาศคณะกรรมการบริหารศูนย์ คณะกรรมการประชาสัมพันธ์ คณะวิทยากรประจำฐานการเรียนรู้ และแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับ นิเทศติดตามและประเมินผล
2. ด้านการบริหารงบประมาณ ด้วยการจัดทำแผนงาน/โครงการการพัฒนาคุณภาพการบริหารศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
3. ด้านการบริหารทั่วไป ด้วยการกำหนดภารกิจในการประสานงาน การอำนวยความสะดวก และการประชาสัมพันธ์ เพิ่มเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ต ไลน์ Facebook กศน.ตำบล ใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร
4. ด้านการบริหารวิชาการ ด้วยการจัดทำหลักสูตรบูรณาการการคิดเป็นในกรอบความพอเพียง คู่มือการใช้หลักสูตร คู่มือการบริหารศูนย์ ปฏิทินการจัดกิจกรรม ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโคกห้วย ฐานการเรียนรู้ 7 ฐาน แผ่นพับ ใบงาน ใบความรู้ และจัดหาหนังสือส่งเสริมการอ่าน วารสาร นิตยสารเพื่อสุขภาพ อาชีพ และการพักผ่อนเพิ่มเติม