ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 , ร , มส ของนักเรียน
โดยใช้กลยุทธ์ ESPRA Model โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์
ปีการศึกษา 2559
ผู้รายงาน : นางสาวกัลยา บิลสะอาด
รองผู้อำนวยการโรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2559
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 , ร , มส ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ ESPRA Model โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2559 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) คุณภาพการดำเนินงานแก้ปัญหาการติด 0 , ร , มส ของนักเรียน 2) การมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ในการแก้ปัญหาการติด 0 , ร , มส ของนักเรียน 3) จำนวนการติด 0 , ร , มส ของนักเรียน ปีการศึกษา 2559 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 5) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 , ร , มส ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ ESPRA Model โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 260 คน ครูผู้สอน จำนวน 40 คน ผู้ปกครอง จำนวน 260 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 9 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 3 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.890 0.986 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 , ร , มส ของนักเรียน
โดยใช้กลยุทธ์ ESPRA Model โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 , ร , มส ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ ESPRA Model โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.04, S.D. = .64) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 , ร , มส ของ
นักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ ESPRA Model โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 , ร , มส ของนักเรียน
โดยใช้กลยุทธ์ ESPRA Model โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2559
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินการแก้ปัญหาการติด 0 , ร , มส ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ ESPRA Model โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตเกี่ยวกับเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ในการแก้ปัญหาการติด 0 , ร , มส ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ ESPRA Model โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน
4.3 ผลการวิเคราะห์การประเมินการติด 0 , ร , มส รายวิชา ตามระเบียบการวัดผลประเมินผลระดับสถานศึกษา โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2559 มีค่าเฉลี่ยลดลงจากปีการศึกษา 2558 ร้อยละ 64.37 ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน
4.4 ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2559 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2558 ร้อยละ 6.70 ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน และ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2558-2559 พบว่า ค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2559 สูงกว่าค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 ระดับชั้น ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์ประเด็นการประเมิน
4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 , ร , มส ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ ESPRA Model โรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนารายงานการประเมินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0 , ร , มส ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ ESPRA Model ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. ควรนำขั้นตอนการดำเนินงานตามกลยุทธ์ ESPRA Model ให้กับโรงเรียนอื่นๆ ที่มีปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียน และมีบริบทใกล้เคียงกับโรงเรียนสิเกาประชาผดุงวิทย์ เพื่อประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่นๆ ได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษา ค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการติด 0 ร มส ของนักเรียนโดยใช้เทคนิคและรูปแบบอื่นๆ
2. ควรศึกษาปัจจัยหรือสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการติด 0 ร มส ของนักเรียน
3. ควรมีการประเมินโครงการทุกโครงการที่มีผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ