การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะเทคนิคการเชื่อมไฟฟ้าในท่าราบด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะเทคนิคการเชื่อมไฟฟ้าในท่าราบด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะเทคนิคการเชื่อมไฟฟ้าในท่าราบด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 24 คนได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะเทคนิคการเชื่อมไฟฟ้าในท่าราบด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ แบบประเมินคุณภาพของแบบฝึกทักษะเทคนิคการเชื่อมไฟฟ้าในท่าราบด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test for dependent samples
ผลการวิจัยพบว่า
5.1 แบบฝึกทักษะเทคนิคการเชื่อมไฟฟ้าในท่าราบด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว มีประสิทธิภาพ เท่ากับ81.16/83.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
5.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะเทคนิคการเชื่อมไฟฟ้าในท่าราบด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
5.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะเทคนิคการเชื่อมไฟฟ้าในท่าราบด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก