ชื่อผู้วิจัย : นางปนัดดา หล้าคำ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่วิจัย : 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการเกี่ยวกับการจัด การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัด การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้ 3.1) เพื่อหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 ตามเกณฑ์ 80/80 3.2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 3.3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 3.4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเพื่อทดลองใช้รูปแบบของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 45 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 5 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Dependent t test และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการเกี่ยวกับการจัด การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ส่วนมากยังไม่ให้ความสําคัญในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนจนประสบผลสำเร็จ จึงส่งผลให้ผู้เรียนต้องการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นอีก รวมทั้งกิจกรรมที่ครูจัดให้นักเรียนยังไม่มีความลุ่มลึกพอที่จะเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ให้บรรลุผล
2. ผลพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการแนวคิด ทฤษฎีพื้นฐานของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดผลและประเมินผล ทั้งนี้ได้สังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ได้ 5 ขั้น ประกอบด้วย 1) ขั้นเร้าความสนใจ 2) ขั้นใคร่ครวญปัญหา 3) ขั้นสืบเสาะหาแนวทางแก้ไข 4) ขั้นใส่ใจสร้างต้นแบบ 5) ขั้นแนบเผยแพร่ข้อมูล 6) ขั้นประเมินเพื่อเพิ่มพูนความรู้
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏ ดังนี้
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.60 /85.56 โดยมีประสิทธิภาพระหว่างเรียน (E1) เท่ากับ 82.60 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 99.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.08 และมีประสิทธิภาพหลังเรียน (E2) เท่ากับ 85.56 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 34.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.04 หรือมีค่า ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
3.2 ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่าหลังเรียนรู้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถติที่ระดับ .01
3.3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า หลังเรียนรู้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.4 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัด การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.16