เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนบ้านหารเทา (จรุงราษฎร์ดำเนิน)
ผู้วิจัย นางสาวสมหมาย เพชรขวัญ
ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียน โรงเรียนบ้านหารเทา(จรุงราษฎร์ดำเนิน)
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหารเทา (จรุงราษฎร์ดำเนิน) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยใช้ชุดการเรียนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อชุดการเรียน ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหารเทา(จรุงราษฎร์ดำเนิน) กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 30 คน โดยการเลือกแบบสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนแบบ STAD ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม จำนวน 20 แผน 2) ชุดการเรียน เรื่อง การบวก ลบ และคูณทศนิยม จำนวน 5 ชุด 3) แบบทดสอบย่อยประจำชุดการเรียน เรื่อง การบวก การลบและการคูณทศนิยม จำนวน 5 ชุด 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบและการคูณทศนิยม จำนวน 30 ข้อ5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ชุดการเรียนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณ ( rating scal) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ คือ สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ / และการทดสอบที (t - test )
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการเรียน เรื่อง การบวกการลบ และการคูณทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหารเทา(จรุงราษฎร์ดำเนิน) มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.20/83.77 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. การจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนแบบ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหารเทา(จรุงราษฎร์ดำเนิน) ซึ่งเปรียบเทียบผลการเรียนของนักเรียน พบว่า มีผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการใช้ชุดการเรียนแบบ STAD ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ( X- = 3.81 ) และเมื่อพิจารณาระดับความพึงพอใจในแต่ละรายการพบว่า
ทุกรายการอยู่ในระดับ มาก