ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง เพศวิถีศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ QR-code
ประกอบการเรียน
ผู้วิจัย นายจรินทร์ สีบุดดี
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านซ้งวิทยาคม อำเภอเมืองร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ร้อยเอ็ด เขต 1
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง เพศวิถีศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ QR-code ประกอบการเรียนเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้กับผู้เรียนตามความถนัด ความสนใจ ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้โดยผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ทำให้เกิด การตอบสนองต่อการเรียนรู้ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ มีความมุ่งหมาย คือ
1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง เพศวิถีศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ QR-code ประกอบการเรียนตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง เพศวิถีศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ QR-code ประกอบการเรียน 3) เพื่อศึกษาความรับผิดชอบของนักเรียนต่อการศึกษาเล่าเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง เพศวิถีศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ QR-code ประกอบการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านซ้งวิทยาคม อำเภอเมืองร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง เพศวิถีศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ QR-code ประกอบการเรียน จำนวน 16 แผน 2) เอกสาร QR-code ประกอบการเรียน เรื่อง เพศวิถีศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง 0.200.73 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 4) แบบสอบถามความรับผิดชอบของนักเรียนแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.81และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา กลุ่มสาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง เพศวิถีศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ QR-code ประกอบการเรียน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.29/85.19 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง เพศวิถีศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ QR-code ประกอบการเรียน มีค่าเท่ากับ 0.7508
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความรับผิดชอบของนักเรียนต่อการศึกษาเล่าเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง เพศวิถีศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ QR-code ประกอบการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา เรื่อง เพศวิถีศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ QR-code ประกอบการเรียน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เหมาะสม ควรนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาและเพื่อช่วยให้ผู้เรียน มีความรู้พื้นฐานในการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น