แผนการจัดการเรียนรู้ทิ่ 2
การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังฤษเพื่อความเข้าใจ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แผนผังความคิด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
เรื่อง Sepak Takraw
จัดทำโดย
นางสาวนงนภัส ประสมทรัพย์
ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
วิชาภาษาอังกฤษ รหัสวิชา อ 22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อหน่วย Free time and Entertainment ชื่อเรื่อง Sepak Takraw เวลา 2 ชั่วโมง
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
1.มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตัวชี้วัดที่ ต.1.1 ม.2/4
มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอดและความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดย
การพูดและการเขียน ตัวชี้วัดที่ ต.1.3 ม.2/2
สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และ
เป็นพื้นฐานในการพัฒนาแสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน ตัวชี้วัดที่ ต.3.1 ม.2/1
สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก ตัวชี้วัดที่ 4.2 ม.2/1 2. สาระสำคัญ
การอ่านข้อความ เรื่องราว หรือบทอ่านสั้น ๆ แล้วสรุปรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยใช้แผนผังความคิด (Mind Mapping) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิด การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ ซึ่งทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทอ่านได้ดีและรวดเร็วขึ้น
3. จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด
1. บอกความหมายของคำศัพท์ สำนวน ที่ปรากฏในบทอ่านได้
2. ตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านได้
3. สรุปรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยใช้แผนผังความคิดได้
4. สาระการเรียนรู้
4.1 เนื้อหาทางภาษา
Reading Passage : Sepak Takraw
Vocabulary : Sepak takraw, player, imagine, rattan, plastic, block, flip,
acrobatic, rule, combination, team, upside down, rapidly.
2
Grammar : Auxiliary Verb : can (Use can + Verb to talk about
possibility and ability.
: You can swim but you cant play football.
: He can sing but he cant dance.
: Can you play badminton? Yes, I can./ No, I cant.
4.2 ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
1) ทักษะการวาดภาพ
2) ทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์
3) ทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม
4) ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
4.3 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1) ความสามารถในการสื่อสาร
2) ความสามารถในการคิด
3) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
4.4 คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1) มีวินัย
2) ใฝ่เรียนรู้
3) มุ่งมั่นในการทำงาน
5. สื่อการเรียนรู้
5.1 วีดิทัศน์เกี่ยวกับกีฬา
5.2 ใบความรู้เรื่องแผนผังความคิด
5.3 บทอ่านเรื่อง Sepak Takraw
5.4 ใบงานที่ 1 (คำศัพท์เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน)
5.5 ใบงานที่ 2 (ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน)
5.6 ใบงานที่ 3 (แผนผังความคิด)
5.7 พจนานุกรมภาษาอังกฤษ
6. กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities)
ขั้นที่ 1 กิจกรรมก่อนการอ่าน (Pre-reading Activities)
1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2. ครูทักทายนักเรียน และแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
3. ครูให้นักเรียนดูวีดิทัศน์เกี่ยวกับกีฬา และสอบถามนักเรียนดังนี้
3
T : How many kinds of sports you can see from the video?
Ss: There are two kinds of sports.
T: What are they?
Ss: They are football and sepak takraw.
T: Do you like to play sport?
Ss: Yes, I do.
T: What kinds of sports do you like?
Ss: I like sepak takraw and volleyball.
T: How many players are there on each sepak takraw team?
Ss: Three players.
4. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4-5 คน โดยสมาชิกในกลุ่มจะประกอบด้วยนักเรียน
เก่ง ปานกลาง และอ่อน
5. ครูแจกใบความรู้เรื่อง แผนที่ความคิด ให้นักเรียนศึกษา
6. นักเรียนกับครูร่วมกันสรุปหลักเกณฑ์ วิธีการและขั้นตอนของการเขียนแผนที่ความคิดจากใบความรู้
7. ครูแจกบทอ่านเรื่อง Sepak Takraw ให้นักเรียนอ่านคร่าว ๆ และขีดเส้นใต้คำศัพท์ที่ไม่รู้ความหมาย แล้วค้นหาความหมายของคำศัพท์จากพจนานุกรมภาษาอังกฤษ
8. นักเรียนกับครูร่วมกันสรุปความหมายของคำศัพท์และไวยากรณ์จากบทอ่าน
9. ครูแจกใบงานที่ 1 ให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่ง ซึ่งกำหนดให้นักเรียนจับคู่คำศัพท์กับความหมายโดยให้นักเรียนทำตามเวลาที่กำหนด หลังจากนั้นให้นักเรียนเปลี่ยนกันตรวจใบงานที่ 1
10. นักเรียนกับครูร่วมกันตรวจคำตอบที่ถูกต้อง พร้อมทั้งอ่านออกเสียงคำศัพท์
ขั้นที่ 2 กิจกรรมระหว่างการอ่าน (While-reading Activities)
1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอ่านบทอ่านอีกครั้งหนึ่ง โดยสมาชิกในกลุ่มช่วยกันศึกษา
และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่อ่าน แล้วช่วยกันสรุปและอภิปรายเพื่อหาคำตอบในใบงานที่ 2 ขณะที่นักเรียนอ่านบทอ่านนั้น ครูเดินไปรอบ ๆ สังเกตการอ่านของนักเรียน คอยให้คำแนะนำและ
ตอบคำถามเมื่อนักเรียนซักถาม
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอคำตอบของกลุ่มตนเอง
3. นักเรียนกับครูร่วมกันตรวจคำตอบที่ถูกต้องของใบงานที่ 2
ขั้นที่ 3 กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-reading Activities)
1. ครูแจกใบงานที่ 3 ให้นักเรียนแต่ละคนสรุปรายละเอียดเกี่ยวกับบทอ่านเรื่อง
Sepak Takraw เป็นแผนผังความคิด ขณะที่นักเรียนสรุปแผนผังความคิดนั้นครูเดินไปรอบ ๆ
4
สังเกตการทำงานของนักเรียน คอยให้คำแนะนำและตอบคำถามเมื่อนักเรียนซักถาม
2. ครูสุ่มนักเรียนออกมานำเสนอแผนผังความคิด
3. นักเรียนกับครูร่วมกันสรุปการนำเสนอแผนผังความคิดที่ถูกต้อง พร้อมทั้งทบทวนคำศัพท์ ไวยากรณ์และอ่านออกเสียงบทอ่าน
4. ครูคัดเลือกผลงานของนักเรียนที่ได้คะแนนอยู่ในระดับดีติดป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียนไว้ให้ทุกคนได้ดูผลงานของเพื่อน และศึกษาเปรียบเทียบเพื่อพัฒนาผลงานของตนเองให้ดีขึ้น
5. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
7. การวัดผลและประเมินผล
7.1 วิธีวัดและประเมินผล
-ตรวจแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
-ตรวจใบงานที่ 1-3
7.2 เครื่องมือวัดและประเมินผล
-แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
-ใบงานที่ 1 -3
7.3 เกณฑ์การวัดและประเมินผล (ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70)
-แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน ตอบถูก 4 ข้อขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์
-ใบงานที่ 1 และ 2 ตอบถูกตั้งแต่ 7 ข้อขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์
-ใบงานที่ 3 แผนผังความคิดได้ตั้งแต่ 11 คะแนนขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์
8. ผลงาน/ชิ้นงานของนักเรียน
-การเขียนแผนผังความคิดสรุปเรื่องที่อ่าน (ใบงานที่ 3)
9. ความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
-สุขศึกษาและพลศึกษา (ประวัติกีฬาเซปักตะกร้อ)
-ศิลปะ (การออกแบบแผนผังความคิด)
5
11. บันทึกหลังสอน
1. ผลการสอน
.
.
.
.
.
2. ปัญหาอุปสรรค
.
..
.
3. ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข
.
..
.
ลงชื่อ
ครูผู้สอน
(นางสาวนงนภัส ประสมทรัพย์)
.
/
/
..
..
6
ใบความรู้
ความหมายของแผนผังความคิด
แผนผังความคิด (Mind Map) หรือ (Mind Mapping) มีผู้ใช้ชื่อภาษาไทยที่แตกต่างกันออกไป เช่น แผนที่ความคิด แผนภาพความคิด แผนภูมิความคิด แผนผังความสัมพันธ์ความหมาย แผนผังทางปัญญา และแผนผังความคิด ซึ่งในที่นี้ขอใช้คำว่า แผนผังความคิด (Mind Mapping) เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ซึ่งคำว่าแผนภาพความคิดนี้มีผู้ให้ความหมายซึ่งสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ดังนี้
แผนผังความคิด คือ เครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้เพื่อช่วยผู้เรียนในการเชื่อมโยงสารสนเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรมในลักษณะแผนภาพ
วิธีการและขั้นตอนการสร้างแผนผังความคิด
สุวิทย์ และอรทัย มูลคำ (2547 : 179-180) ได้กล่าวถึงหลักการ หรือวิธีการและขั้นตอน
ในการสร้างแผนผังความคิดสรุปได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 เริ่มเขียนหรือวาดภาพมโนทัศน์หลักหรือหัวข้อเรื่องไว้ตรงกลาหน้ากระดาษ
ซึ่งควรใช้กระดาษชนิดไม่มีเส้นและวางกระดาษแนวนอน ควรเป็นภาพสี
ขั้นที่ 2 เขียนหรือวาดภาพมโนทัศน์รองที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์หลักหรือหัวข้อเรื่องกระจายออกไปรอบๆ มโนทัศน์หลัก
ขั้นที่ 3 เขียนหรือวาดภาพมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์รองแตกออกไปเรื่อย ๆ โดยเขียนข้อความไว้บนเส้นแต่ละเส้น
ขั้นที่ 4 ใช้ภาพสื่อความหมายให้มากที่สุด
ขั้นที่ 5 เขียนหรือพิมพ์คำด้วยตัวบรรจงขนาดใหญ่
ขั้นที่ 6 เขียนคำที่มีลักษณะเป็นหน่วย (เป็นคำหรือข้อความที่มีความหมายในตัวเอง)
ขั้นที่ 7 เขียนคำเหนือเส้นและแต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกับเส้นอื่น ๆ
ขั้นที่ 8 ตกแต่งแผนผังความคิด ด้วยการใช้สี รูปภาพ หรือสัญลักษณ์
ขั้นที่ 9 ขณะที่เขียน Mind Map ควรปล่อยความคิดให้อิสระมากที่สุด
7
จากวิธีการและขั้นตอนการเขียนแผนผังความคิดนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการสอน
อ่านภาษาอังกฤษ โดยให้นักเรียนเขียนแผนผังความคิดสรุปเรื่องที่อ่าน เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ ระหว่างความคิดหลัก ความคิดรองและความคิดย่อย ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
จากลำดับขั้นตอนการเขียนแผนผังความคิดนี้ สามารถเขียนตัวอย่างของแผนผังความคิดได้
ดังตัวอย่างในภาพประกอบที่ 1 และ, 2 ตามลำดับ
ภาพประกอบที่ 1 ลักษณะการเขียนแผนผังความคิด
ที่มา : ไสว ฟักขาว 2542
ภาพประกอบที่ 2 ลักษณะการเขียนแผนผังความคิด
ที่มา : คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2547
8
ประโยชน์ของแผนผังความคิด
ชาตรี สำราญ (2542 : 41-42) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของแผนผังความคิดคือ
1. ช่วยในการแปลความหมายและพัฒนาความเข้าใจ
2. ช่วยพัฒนาการทำงานของสมองซีกซ้าย ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์คำ สัญลักษณ์
ตรรกวิทยา และสมองซีกขวา ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์รูปแบบ สี รูปร่าง
3. จัดการจัดหมวดหมู่ข้อมูล
4. การจัดลำดับข้อมูลเพื่อให้จำง่าย
5. นักเรียนมีโอกาสคิดไตร่ตรองมากขึ้น
6. ช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลกับรูปภาพหรือประสบการณ์เดิม
7. เป็นวิธีการแปลกใหม่น่าสนใจ เป็นวิธีเรียนจากการเล่น นักเรียนจะมีความสุขจาก
การเรียนรู้
ขวัญฤดี และ ธัญญา ผลอนันต์ (2550 : 65) ได้กล่าวถึงข้อดีของการใช้แผนผังความคิดช่วยสอนดังนี้
1. ช่วยให้นักเรียนสนใจบทเรียน ส่งผลให้รับรู้ได้มากขึ้นและให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนมากขึ้น และให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนมากขึ้นตามไปด้วย
2. ทั้งครูและนักเรียนรู้สึกว่าการเรียนรู้เป็นธรรมชาติ สร้างสรรค์และสนุกสนาน
3. ครูจะรู้สึกว่าแต่ละปีไม่ซ้ำซาก การเตรียมการสอนยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ง่ายและสะดวกกว่าเดิม
4. แผนผังความคิดจดบันทึกแต่ประเด็นสำคัญ ๆ นักเรียนจึงรับรู้และเรียนรู้ได้ดีขึ้น
ผลก็คือทำข้อสอบได้ดีกว่าเดิมแม้จะเป็นข้อสอบแบบเก่าก็ตาม
5. แผนผังความคิดแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลหรือความคิดอย่างชัดเจน นักเรียน
จึงเข้าใจเนื้อหาสาระได้ลึกซึ้งกว่าเดิม
6. กระดาษจดงานจะลดลงไปอย่างมาก ปกติหนึ่งบทแผนผังความคิดหนึ่งใบ
7. แผนผังความคิดใช้กับนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ได้อย่างดีโดยเฉพาะเด็ก
ที่มีปัญหาเรื่องการสะกดคำ การแต่งประโยค พูดไม่คล่องสามารถนำเสนอความคิด ความรู้ได้อย่าง
ไม่ลำบากนัก
9
บทอ่าน
(From My World Work Book 2 . Issue December 2006)
แบบทดสอบก่อนเรียน
(From New World Student Book 2. Issue 2017)
10
แบบทดสอบก่อนเรียน
เกณฑ์การให้คะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน เกณฑ์การประเมิน
คะแนนเต็ม 5 คะแนน คะแนนรวม
..คะแนน
ตอบถูกต้องข้อละ 1 คะแนน  5 ดีมาก  4 ดี
 3 พอใช้  1-2 ปรับปรุง
11
ใบงานที่ 1
Directions: Match these words with the correct meaning that giving below.
Words Meaning
1. sport a. ใช้
2. use b. หวาย
3. player C. การรวมกัน
4. rattan d. พลิก, สะบัด
5. combination e. ผู้เล่น
6. block f. กีฬา
7. imagine g. กฎระเบียบ, กติกา
8. flip h. กีดขวาง, สกัดกั้น
9. acrobatic i. จินตนาการ
..10. rule j. การแสดงโลดโผน,กายกรรม
เกณฑ์การให้คะแนนจับคู่คำศัพท์กับความหมาย เกณฑ์การประเมิน
คะแนนเต็ม 10 คะแนน คะแนนรวม
..คะแนน
จับคู่ถูกต้องข้อละ 1 คะแนน  9-10 ดีมาก  7-8 ดี
 5-6 พอใช้  1-4 ปรับปรุง
12
ใบงานที่ 2
Directions: Choose the best answer.
1. What sport is sepak takraw like?
a. snooker b. badminton
c. golf d. volleyball
2. What does the name Sepak mean?
a. kick b. plastic
c. ball d. game
3. What does the name Takraw mean?
a. kick b. plastic
c. ball d. game
4. Where does the name sepak takraw come from?
a. Thai b. Malay.
c. Laos d. Thai and Malay.
5. Where is the sepak takraw very popular?
a. in Asia b. in Thailand
c. in Singapore d. in Malaysia
6. How many players are there on each team ?
a. three b. four
c. five d. six
13
7. What is the takraw ball made of ?
a. palastic b. rattan
c. leather d. a and b are corrects.
8. Is sepak takraw a boring game ?
a. Yes, they are. b. No, they arent.
c. Yes, it is. d. No, it isnt.
9. Which part of the players body cant use?
a. feet and knees. b. backs and shoulders.
c. heads and knees. d. hands and arms.
10. Why is sepak takraw an exciting game ?
a. Because it is very fast game. b. Because it is very long game.
c. Because it is dangerous game. d. Because it is a popular game.
เกณฑ์การให้คะแนนตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน เกณฑ์การประเมิน
คะแนนเต็ม 10 คะแนน คะแนนรวม........
คะแนน
ตอบถูกต้องข้อละ 1 คะแนน  9-10 ดีมาก  7-8 ดี
 5-6 พอใช้  1-4 ปรับปรุง
14
ใบงานที่ 3
Directions: Read the passage and write mind mapping about main idea, second categories and supporting details. (ให้นักเรียนอ่านบทอ่านแล้วเขียนแผนผังความคิด โดยระบุความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อยให้ได้ใจความครบถ้วนสมบูรณ์)
15
แบบทดสอบหลังเรียน
เกณฑ์การให้คะแนนแบบทดสอบหลังเรียน เกณฑ์การประเมิน
คะแนนเต็ม 5 คะแนน คะแนนรวม
..คะแนน
ตอบถูกต้องข้อละ 1 คะแนน  5 ดีมาก  4 ดี
 3 พอใช้  1-2 ปรับปรุง
16
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน
1. d
2. b
3. d
4. b
5. b
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน
1. a
2. d
3. c
4. b
5. d
17
เฉลยใบงานที่ 1 เฉลยใบงานที่ 2
1. f 1. d
2. a 2. a
3. e 3. c
4. b 4. d
5. c 5. a
6. h 6. a
7. i 7. d
8. d 8. d
9. j 9. d
10. g 10. a
18
19
เกณฑ์การประเมินแผนผังความคิด
เกณฑ์การประเมินระดับคุณภาพ
รายการประเมิน คำอธิบายระดับคุณภาพ
3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง)
ข้อมูลด้านปริมาณ สรุปเนื้อหารายละเอียดประกอบด้วย ความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อยได้ครอบคลุมครบถ้วน สรุปเนื้อหารายละเอียดประกอบด้วย ความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อยได้ ยังไม่ครบถ้วน สรุปเนื้อหารายละเอียดประกอบด้วย ความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อยได้น้อยมาก
ข้อมูลด้านคุณภาพ สรุปเนื้อหาโดยใช้คำสั้น กระชับ ตรงประเด็น
และสื่อสารได้เข้าใจ สรุปเนื้อหาโดยใช้คำสั้น กระชับ และสื่อสารได้บ้าง สรุปเนื้อหาใช้คำ
ฟุ่มเฟือย ไม่ตรงประเด็นและเข้าใจยาก
การออกแบบ
แผนผังความคิด นำเสนอแผนผังความคิด
มีรายละเอียดของเนื้อหาเชื่อมโยงสัมพันธ์กันและรูปแบบถูกต้อง นำเสนอแผนผังความคิด
มีรายละเอียดของเนื้อหาเชื่อมโยงสัมพันธ์กันรูปแบบถูกต้องเป็นบางส่วน นำเสนอแผนผังความคิด มีรายละเอียดของเนื้อหาไม่สัมพันธ์กัน และรูปแบบไม่ถูกต้อง
ภาษาที่ใช้ในการนำเสนอ
ตรงตามเนื้อหาที่กำหนดเขียนสะกดคำศัพท์ถูกต้อง ตรงตามเนื้อหาที่กำหนดเขียนสะกดคำศัพท์ผิด
1-4 แห่ง ตรงตามเนื้อหาที่กำหนด เขียนสะกดคำศัพท์ผิดมากกว่า 4 แห่ง
ประโยชน์และความรู้สึกที่ได้จากชิ้นงาน มีความประณีต ตกแต่งสวยงาม การให้สีถูกต้อง และน่าสนใจ มีความประณีต ตกแต่งสวยงาม การให้สีถูกต้อง เป็นบางส่วน ขาดความประณีต
การให้สีไม่ถูกต้อง
และไม่น่าสนใจ
เกณฑ์การประเมินระดับคะแนน/ระดับคุณภาพ
ระดับคะแนน ระดับคุณภาพ
11-15 คะแนน ดี
6-10 คะแนน พอใช้
0-5 คะแนน ปรับปรุง
20
แบบประเมินการทำงานกลุ่ม
กลุ่มที่ ความ
ร่วมมือ ขั้นตอน
การทำงาน การแสดง
ความคิดเห็น ความรับผิดชอบ รวม
คะแนน
3 คะแนน 3 คะแนน 3 คะแนน 3 คะแนน 12 คะแนน
ลงชื่อ.....................................................ผู้ประเมิน
(................................................)
วันที่......................เดือน.....................พ.ศ.
21
เกณฑ์การประเมิน
การทำงานกลุ่ม
เกณฑ์การประเมินระดับคุณภาพ
รายการประเมิน คำอธิบายระดับคุณภาพ
3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง)
ความ
ร่วมมือ สมาชิกในกลุ่มทุกคนร่วมมือกันทำงาน มีการ
ประสานงานที่ดี สมาชิกทำงานที่ได้รับ
มอบหมาย แต่ยังขาด
การประสานงานในกลุ่ม สมาชิกบางคนไม่ทำงานกลุ่ม และขาด
การประสานงาน
ขั้นตอน
การทำงาน กำหนดขั้นตอนการทำงานชัดเจน ตั้งแต่เริ่มทำงานและเห็นผลงาน มีขั้นตอนการทำงาน
แต่ไม่พบความสำเร็จ
ของงาน กำหนดขั้นตอน
การทำงานไม่ชัดเจน
การแสดง
ความคิดเห็น สมาชิกส่วนใหญ่
ร่วมแสดงความคิดเห็น สมาชิกบางส่วนร่วม
แสดงความคิดเห็น สมาชิกส่วนน้อยร่วมแสดงความคิด
ความรับผิดชอบ สมาชิกทุกคนทำงานที่ได้รับมอบหมาย
เสร็จสมบูรณ์ สมาชิกทำงานที่ได้
รับมอบหมายเสร็จ
แต่ยังไม่สมบูรณ์ สมาชิกบางคนเลี่ยงงาน
งานเสร็จแต่ไม่สมบูรณ์
และช้ากว่ากำหนด
เกณฑ์การประเมินระดับคะแนน/ระดับคุณภาพ
ระดับคะแนน ระดับคุณภาพ
9-12 คะแนน ดี
5-8 คะแนน พอใช้
0-4 คะแนน ปรับปรุง