1. ชื่องาน (กระบวนงาน) : การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม สำหรับครูผู้ช่วย
2. วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาครูผู้ช่วยให้มีความรู้ ความสามารถในการประกอบวิชาชีพ เป็นข้าราชการครู ในสถานศึกษา
3. ขอบเขตของงาน
การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มเป็นกระบวนการในการพัฒนาบุคคลที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู ซึ่งต้องดำเนินการตามมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 แก้ไขเพิ่ม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
4. กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ
4.1 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มาตรา 53 และมาตรา 56
4.2 หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206/ว 20 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
4.3 หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 24 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2548
เรื่อง การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
4.4 หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.2/ว 1 ลงวันที่ 2 มกราคม 2551
เรื่อง การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
4.5 หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.6/ว 7 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2553
เรื่อง การแต่งตั้งครูผู้ช่วยให้ดำรงตำแหน่งครู ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551
4.6 หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0203.7/274 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2556
เรื่อง เพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
5. คำจำกัดความ
การเตรียมความพร้อม หมายถึง กระบวนการในการพัฒนาบุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งครู ซึ่งต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 มาตรา 56 บัญญัติให้ผู้ใดที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ใดได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งครู ให้ผู้นั้นเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ในตำแหน่งครูผู้ช่วย เป็นเวลา 2 ปี ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทักษะและบุคลิกลักษณะในการปฏิบัติวิชาชีพทั้งในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติหน้าที่ที่เหมาะสมกับวิชาชีพครูตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด
การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ใช้กับผู้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย เพื่อแต่งตั้งเป็น
ตำแหน่งครู ส่วนการทดลองปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ ใช้กับตำแหน่งอื่นที่บรรจุเข้ามา เช่น ตำแหน่งบุคลากร ทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค (2)
6. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มสำหรับตำแหน่งครูผู้ช่วยเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด (หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ.0206.2/ว20 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548
หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/274 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2556) ดังนี้
6.1 ระดับสถานศึกษา
1. ผู้อำนวยการสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม จำนวน 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นประธานกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถานศึกษาจำนวนหนึ่งคนเป็นกรรมการ และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผู้อำนวยการสถานศึกษาแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแลการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มเป็นกรรมการและเลขานุการ
หากสถานศึกษาใดไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและหรือผู้ดำรงตำแหน่งครู ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัดแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาและหรือผู้ดำรงตำแหน่งครู จากสถานศึกษาอื่นที่อยู่ใกล้เคียงเป็นคณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตามองค์ประกอบที่ ก.ค.ศ.กำหนด ได้ตามความเหมาะสม
2. ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำรวมทั้งประเมินผลการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม โดยยึดหลักเกณฑ์การมีส่วนร่วม
3. ให้คณะกรรมการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มทุกสามเดือน
รวมแปดครั้งในเวลาสองปี
4. เมื่อผู้อำนวยการสถานศึกษาได้รับรายงานผลการประเมินแต่ละครั้งให้ดำเนินการดังนี้
4.1 เห็นว่าผลการประเมินต่ำกว่าเกณฑ์ ที่ ก.ค.ศ. กำหนดและผู้อำนวยการสถานศึกษาเห็นว่าควรทบทวนก็อาจให้คณะกรรมการไปพิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่งและหากผลการประเมิน
ยังต่ำกว่าเกณฑ์ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการภายในห้าวันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับรายงานแล้วแจ้งให้ผู้นั้นทราบโดยเร็ว
4.2 กรณีผลการประเมินต่ำกว่าเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนดและผู้อำนวยการสถานศึกษา
มีความเห็นเช่นเดียวกับคณะกรรมการ ก็สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้
รับรายงานแล้วแจ้งให้ผู้นั้นทราบโดยเร็ว
4.3 กรณีผลการประเมินเป็นไปตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด ให้มีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มต่อไปและเมื่อผ่านการประเมินทุกครั้งจนครบสองปีแล้ว และเห็นว่าควรให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป ก็ให้รายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาอนุมัติ และแจ้งให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาแต่งตั้งผู้นั้นให้ดำรงตำแหน่งครูต่อไปพร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งทราบ
6.2 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
1. นำผลการประเมินของคณะกรรมการ เมื่อครบสองปีทั้งแปดครั้งเสนอที่ประขุม
อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อพิจารณาการอนุมัติ
2. เมื่อที่ประชุม อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาอนุมัติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งผลการประชุม อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่.......วันที่...........................ให้โรงเรียนดำเนินการสั่งแต่งตั้งพร้อมทั้งส่งคำสั่งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรวจความถูกต้องของคำสั่งแล้วส่งคำสั่งให้กลุ่มงาน
ที่เกี่ยวข้อง
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งคำสั่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและ ก.ค.ศ. ส่วนกรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่บรรจุในตำแหน่งอื่น นอกจากตำแหน่งครูผู้ช่วย เช่น บุคลากรทางการศึกษาอื่นตาม มาตรา 38ค (2) ยังคงให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด ซึ่งปัจจุบันไม่มีกฎ ก.ค.ศ. จึงใช้กฎ ก.พ. ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2542) โดยอนุโลม
สรุป หลักเกณฑ์และวิธีการการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.2/ว 20 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 สำหรับผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในตำแหน่งครูผู้ช่วย ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู บรรลุตามความมุ่งหมายในการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และบุคลิกลักษณะในการปฏิบัติวิชาชีพ ทั้งการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับวิชาชีพครู ก.ค.ศ.จึงมีมติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ดังนี้
หลักเกณฑ์
1. ให้ผู้ที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในตำแหน่งครูผู้ช่วย เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มระหว่างปฏิบัติราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วย
เป็นเวลา2 ปี นับแต่วันเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู ตามหลักสูตรที่ ก.ค.ศ.กำหนด
2. ก่อนการมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติ ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาแจ้งให้ครูผู้ช่วยทราบถึงภาระงาน มาตรฐานคุณภาพ มาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ เกณฑ์การประเมินผลงาน ระเบียบแบบแผน หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติราชการ บทบาทหน้าที่ของข้าราชการในฐานะเป็นพลเมืองที่ดี และหลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
3.ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหัวหน้าส่วนราชการแล้วแต่กรณี
มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนทรัพยากรการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ได้แก่ งบประมาณ บุคลากร เอกสาร สื่อ และ อื่น ๆ ให้แก่สถานศึกษาทุกด้าน
4. การประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ให้คณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ดำเนินการดังนี้
4.1 ประเมินเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ครูผู้ช่วยเป็นระยะ ๆ ทุก 3 เดือน
ตามแบบประเมินที่ ก.ค.ศ. กำหนด ในการประเมินแต่ละครั้งให้ประธานกรรมการ แจ้งผลการประเมินให้ครูผู้ช่วย และรายงานผู้มีอำนาจตามมาตรา 53ทราบ
4.2 เมื่อครบเวลา2 ปี ให้สรุปผลการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
เสนอต่อผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 เพื่อพิจารณาต่อไป
5. การนับระยะเวลาการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม 2 ปี นับวันเข้าปฏิบัติราชการวันแรกเป็นวันเริ่มต้น สิ้นสุดตามปีปฏิทิน
กรณีครูผู้ช่วย ผู้ใดได้ลาคลอดบุตร ลาป่วย ซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานาน ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติราชการ
ตามหน้าที่ หรือลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล เป็นระยะเวลาเกินกว่า 90 วัน ไม่ให้
นับระยะเวลาการลาที่เกิน 90วันดังกล่าวรวมเป็นเวลาการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
วิธีการ
1. ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมอย่างเข้มจำนวน 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นประธาน กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 1 คน เป็นกรรมการ และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ซึ่งดำรงตำแหน่งครูที่ผู้อำนวยการสถานศึกษาแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแลการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม เป็นกรรมการและเลขานุการ
2. ให้คณะกรรมการมีหน้าที่เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ให้คำปรึกษา แนะนำ รวมทั้งประเมินผลการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมและการประเมิน
เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้บรรลุผลตามความมุ่งหมาย
3. เมื่อผู้มีอำนาจตามมาตรา53 ได้รับรายงานแล้วให้ดำเนินการ ดังนี้
3.1 กรณีที่เห็นว่าครูผู้ช่วยมีผลการประเมินการเตรียมความพร้อม และพัฒนาอย่างเข้ม
ต่ำกว่าเกณฑ์การประเมินผลการพัฒนา ที่ ก.ค.ศ. กำหนด หากผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 เห็นว่าควรทบทวนการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ก็อาจให้คณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มไปพิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่ง และหากผลการประเมิน ยังต่ำกว่าเกณฑ์การประเมินผลการพัฒนา
ที่ ก.ค.ศ.กำหนด ให้มีผู้มีอำนาจมาตรา 53สั่งให้ครูผู้ช่วยผู้นั้นออกจากราชการภายใน 5วันทำการนับแต่วันที่ได้รับรายงาน แล้วแจ้งให้ผู้นั้นทราบโดยเร็ว
3.2 กรณีที่ครูผู้ช่วยมีผลการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ต่ำกว่าเกณฑ์การประเมินผลการพัฒนาที่ ก.ค.ศ. กำหนด และผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 เห็นเช่นเดียวกับคณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ก็สั่งให้ครูผู้ช่วยนั้นออกจากราชการภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับรายงาน แล้วแจ้งให้ผู้นั้นทราบโดยเร็ว
3.3 กรณีที่เห็นว่าครูผู้ช่วยมีผลการประเมินการเตรียมความพร้อมและการพัฒนาอย่างเข้ม เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินผลการพัฒนา ที่ ก.ค.ศ. กำหนด ให้มีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ต่อไป และเมื่อผ่านการประเมินทุกครั้งจนครบสอง ปี และเห็นว่าควรให้ครูผู้ช่วยผู้นั้นรับราชการต่อไป ก็เสนอให้อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง พิจารณาอนุมัติ และผู้มีอำนาจตามมาตรา 53
สั่งแต่งตั้งครูผู้ช่วยผู้นั้น ให้ดำรงตำแหน่งครูต่อไป แล้วให้แจ้งให้ผู้นั้นทราบ
ความหมายคะแนนของระดับคุณภาพ
ระดับ 1 เท่ากับ 1 คะแนน หมายถึง ต้องปรับปรุง
ระดับ 2 เท่ากับ 2 คะแนน หมายถึง พอใช้
ระดับ 3 เท่ากับ 3 คะแนน หมายถึง ดี
สรุปเกณฑ์การประเมิน
1. คณะกรรมการประเมินครูผู้ช่วยทุกสามเดือน เป็นเวลาสองปี รวม 8 ครั้ง
2. ผลการประเมินครั้งที่ 1 - 4 แต่ละครั้ง ต้องผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 50
3. ผลการประเมินครั้งที่ 5 - 8 แต่ละครั้ง ต้องผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60
คำชี้แจงแนวทางการปฏิบัติการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.2/ว 20 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 ที่แนบมาพร้อมนี้ ได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม เพื่อให้เป็นแนวทางการปฏิบัติเดียวกันจึงชี้แจง ดังนี้
1.โรงเรียนที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้/ผู้ได้รับคัดเลือกเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูในตำแหน่งครูผู้ช่วย ต้องดำเนินการประเมินการเตรียมความพร้อมฯในแบบบันทึกผลการประเมินและเก็บเอกสารไว้ที่โรงเรียน จำนวน 1 ชุด
2.โรงเรียนต้องสรุปในแบบสรุปการประเมินการเตรียมความพร้อมฯ จำนวน 1 ชุด ส่งมาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1
3.การสรุปผลคะแนน
ตอนที่ 3 สรุปบันทึกผลการประเมิน
หมวดที่ 1 การประเมินผลการปฏิบัติตน
1.วินัย คุณธรรม จริยธรรมสำหรับข้าราชการ (5ข้อ) คะแนนเต็ม 15 คะแนน
2.มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพครู (2ข้อ) คะแนนเต็ม 6 คะแนน
3.เจตคติต่อวิชาชีพครู (3ข้อ) คะแนนเต็ม 9 คะแนน
4.การพัฒนาตนเอง (3ข้อ) คะแนนเต็ม 9 คะแนน
5.การพัฒนาบุคลิกภาพ (2ข้อ) คะแนนเต็ม 6 คะแนน
6.การดำรงชีวิตที่เหมาะสม (2ข้อ) คะแนนเต็ม 6 คะแนน
คะแนนรวม 51 คะแนน
วิธีการคำนวณ : ผลคะแนนรวมการประเมินต่อครั้ง = คะแนนรวมที่ได้จากการประเมิน × 100
คะแนนรวม 51 คะแนน
หมวดที่ 2 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
1.การจัดการเรียนรู้ (4ข้อ) คะแนนเต็ม 12 คะแนน
2.การพัฒนาผู้เรียน (6ข้อ) คะแนนเต็ม 18 คะแนน
3.การพัฒนาทางวิชาการ (3ข้อ) คะแนนเต็ม 9 คะแนน
4.การพัฒนาสถานศึกษา (3ข้อ) คะแนนเต็ม 9 คะแนน
5.ความสัมพันธ์กับชุมชน (5ข้อ) คะแนนเต็ม 15 คะแนน
คะแนนรวม 63 คะแนน
วิธีการคำนวณ : ผลคะแนนรวมการประเมินต่อครั้ง = คะแนนรวมที่ได้จากการประเมิน × 100
คะแนนรวม 63 คะแนน
คะแนนรวมหมวดที่1-2(คะแนนรวมที่คิดเป็นร้อยละ)=ผลคะแนนรวมการประเมินหมวดที่1 + 2 ในแต่ละครั้ง
2
กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการที่เกี่ยวข้อง
1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 หมวด 4 การบรรจุและการแต่งตั้ง
มาตรา 53 และมาตรา 56
2.หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206/ว20 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
3.หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 24 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2548
เรื่อง การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
4. หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.6/ว 7 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2553
เรื่อง การแต่งตั้งครูผู้ช่วยให้ดำรงตำแหน่งครู ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551
5.หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0203.7/274 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2556
เรื่อง เพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม