บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะ
โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นายสมพร หมั่นบ้านต้อน ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านไผ่ กองการศึกษาเทศบาลเมืองบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ ให้มีประสิทธิ์ภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และ
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชา
วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน นักเรียนที่ใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อหาประสิทธิภาพ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 25 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน ใช้เครื่องมือ คือ รูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น จำนวน 8 แผน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 40 ข้อ และ 2) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการทดลองรูปแบบการเรียนการสอน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 /1 จำนวน 20 คน ใช้เครื่องมือ คือ รูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น จำนวน 8 แผน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ 3) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 /1 จำนวน 20 คน ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง ( Purposive random sampling) ใช้เครื่องมือคือแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพและ การทดสอบค่า t (แบบกลุ่มไม่อิสระ) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1.การสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน มีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กิจกรรมการเรียนรู้และการประเมินผลการเรียนรู้ เมื่อนำไปทดลองใช้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า 1) แบบรายุคคล มีประสิทธิภาพเท่ากับ 73.80/74.17 ต่ำกว่าเกณฑ์ 80/80 2) แบบกลุ่มเล็ก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.69/76.39 ต่ำกว่าเกณฑ์ 80/80 3) แบบภาคสนาม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.85/83.90 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ผลการใช้รูปแบบการสอน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด