รูปแบบการสอน PAP โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยเพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและคุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Project based teaching model using affective domain principle to promote English communicative skills and public mind in tourism for students in pratomsuksa 5
ปรียาภรณ์ ศรีพิมพ์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการสอน PAP โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยเพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและคุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยเพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและคุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอน PAP โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยเพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและคุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอน PAP โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยเพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและคุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ (4) เพื่อประเมินผลและรับรองรูปแบบการสอน PAP โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยเพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและคุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในชั้นเรียนคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purpose Sampling) จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน จำนวน 11 แผน 19 ชั่วโมง แบบฝึกทักษะ 5 เล่ม แบบทดสอบวัดทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และแบบประเมินคุณลักษณะจิตอาสา การเก็บรวบรวมข้อมูล จากการสอบถามความคิดเห็นของรูปแบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัย จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูล จากการสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ ความเรียง, ร้อยละ, , S.D., การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งข้อมูลเอกสารสำคัญคือ แนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน แนวความคิดของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร การเรียนรู้ด้วยโครงงาน แนวคิดและทฤษฎีในการสร้างเสริมจิตพิสัย
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอน PAP โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยเพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและคุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน PAP โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยเพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและคุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
3.1 คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ผลการประเมินคุณภาพภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.0, S.D.= 0.33)
3.2 ผลทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษสามารถอธิบายได้ดังนี้
ทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมโครงงานทั้ง 4 ทักษะ คือ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่านและทักษะการเขียน มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นทุกทักษะ ซึ่งผลต่างของค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นแต่ละด้านระหว่างร้อยละ 13.80 19.50 ทักษะการเขียนมีค่าผลต่างของค่าเฉลี่ยสูงที่สุดโดยมีผลต่างของค่าเฉลี่ยร้อยละ 19.50 ส่วนทักษะการอ่าน มีค่าผลต่างของค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดโดยมีผลต่างของค่าเฉลี่ยร้อยละ 13.80 เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล พบว่านักเรียนมีการพัฒนาทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3.3 คุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยวสามารถอธิบายได้ดังนี้
ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตอาสาของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยครูประเมิน ทั้ง 5 โครงงาน พบว่า ระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตอาสา อยู่ในระดับดี เพื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ข้อ 1.1 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.38 รองลงมา คือ ข้อ 2.1 เท่ากับ 2.96 และต่ำที่สุด คือ ข้อ 1.2 มีค่าเฉลี่ย 2.67 พบว่านักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตอาสาเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
4. ประเมินผลและรับรองรูปแบบการสอน PAP โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามหลักการพัฒนาจิตพิสัยเพื่อส่งเสริมทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษและคุณลักษณะจิตอาสาด้านการท่องเที่ยว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.22)
คำสำคัญ: (1) โครงงาน (2) ทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษ (3) คุณลักษณะจิตอาสา
Abstract
This study aims to develop teaching model PAP using affective domain principle to promote English communicative skills and public mind in tourism for students in pratomsuksa 5 following these objectives; (1) to examine learning context of project based learning on affective domain principle to promote English communicative skills and public mind in tourism for students in pratomsuksa 5 (2) to develop teaching model PAP using affective domain principle to promote English communicative skills and public mind in tourism for students in pratomsuksa 5 (3) to try out teaching model PAP of project based learning on affective domain principle to promote English communicative skills and public mind in tourism for students in pratomsuksa 5 and (4) to evaluate and to certify teaching model PAP of project based learning on affective domain principle to promote English communicative skills and public mind in tourism for students in pratomsuksa 5.
The study samples were 40 students in pratomsuksa 5/1 by purposive sampling technique. The study tools included 6 project based lesson plans for 18 hours and listening skill, speaking skill, reading skill and writing skill tests. Data collecting was conducted by oral interviewing questionnaire. As a result from experts evaluating, data analyzing, questioning, evaluation forms and statistic applying, the data was showed by descriptive statistic.
The finding was showed that;
1. The result of important documents are model teaching, communicative skills, project - based learning and affective domain principle.
2. The result of teaching model developing PAP using affective domain principle to promote English communicative skills and public mind in tourism for students in pratomsuksa 5 included 3 procedures stages was high level.
3. The result of teaching model PAP trying out of project based learning on affective domain principle to promote English communicative skills and public mind in tourism for students in pratomsuksa 5 could be describe in 2 attributes below,
3.1 The quality of lesson plans was high ( = 4.0, S.D.= 0.33).
3.2 English communicative skills finding
English communicative skills of the students who participated in project based learning activity covered listening skill, speaking skill, reading skill and writing skill extended to higher average in every skills. Besides, the difference of an average rose up in each aspect between 13.80 19.50 percent. English communicative skills extended to the highest from the difference of an average at 19.50 percent. However, in the aspect of writing skill showed the lowest difference of an average at 13.80 percent. For individual finding, students communicative skill climbed up and supported the hypothesis.
3.3 Public mind in tourism finding
Public mind in tourism evaluation of the students who participated in project based learning activity in 5 different projects indicated good level of service volunteer attribute. Considering in each items revealed the highest average at item 1.1 at 3.38 The next rank was item 2.1 at 2.96 and the lowest one was item 1.2 at 2.67 The study found that students public mind reached up according to the hypothesis.
4. Evaluation and Certification was highest.
Key Words: (1) project (2) English communicative skills (3) service volunteer attribute