บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารชีวโมเลกุลโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS)สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 2)เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารชีวโมเลกุล
โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS)สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ได้แก่ 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารชีวโมเลกุลโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS)
สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารชีวโมเลกุลโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) เพื่อศึกษาความ
พึงพอใจของนักเรียนในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง สารชีวโมเลกุลโดยใช้กระบวนการเรียนรู้
5 ขั้นตอน (QSCCS)สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งได้ใช้ระเบียบวิจัยพัฒนา แบ่งเป็น
3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้วิจัยได้ให้
ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พิจารณาความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แล้วนำชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองแพร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 ปีการศึกษา 2559 ที่มีอยู่ทั้งหมด 22 คน โดยแบ่งนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม คือ นักเรียนจำนวน 3 คนเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมทางด้านภาษา เวลา แล้วปรับปรุงแก้ไข จากนั้นนำมาทดลองใช้กับนักเรียน จำนวน 6 คน เพื่อหาความบกพร่อง ความเหมาะสมของกิจกรรม เนื้อหา เวลาที่ใช้และปัญหาต่างๆ ของชุดกิจกรรม แล้วนำข้อบกพร่องที่พบมาปรับปรุงแก้ไขหลังจากนั้นนำไปทดลองใช้กับนักเรียน จำนวน 13 คน เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 80/80 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารชีวโมเลกุล โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS)
สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 6 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง สารชีวโมเลกุลโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS)
สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้มาใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองแพร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน แบบแผนวิจัยที่ใช้ในการทดลอง คือ
One Group Pretest-Posttest Design และ One short case study เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารชีวโมเลกุล โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 6 ชุด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารชีวโมเลกุล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที t-test Dependent และ t-test One Sample ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารชีวโมเลกุลโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS)สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนเมืองแพร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37
ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ที่ได้ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารชีวโมเลกุล โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1.ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารชีวโมเลกุล โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( X-bar = 4.80 , S.D. = 0.37) และเมื่อนำไปทดลองใช้พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.84/85.13
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2.ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีดังนี้
2.1 นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง สารชีวโมเลกุล โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5ขั้นตอน (QSCCS) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง สารชีวโมเลกุล โดยใช้กระบวนการเรียนรู้5 ขั้นตอน (QSCCS)สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
3.ความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารชีวโมเลกุล โดยใช้กระบวนการเรียนรู้5ขั้นตอน (QSCCS) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4มีความพึงพอใจ
ในระดับมากที่สุด