ชื่อเรื่อง ผลการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมกลยุทธ์ A STEP สู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนไตรคามสามัคคี อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ผู้วิจัย เทิดภูมิ ยั่งยืน
ปีที่ทำวิจัย 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมกลยุทธ์ A STEP สู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนไตรคามสามัคคี อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อสร้างต้นแบบนวัตกรรมกลยุทธ์ A STEP สู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนไตรคามสามัคคี 2) เพื่อทดลองใช้ต้นแบบนวัตกรรมกลยุทธ์ A STEP สู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนไตรคามสามัคคี และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบต้นแบบนวัตกรรมกลยุทธ์ A STEP สู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนไตรคามสามัคคี
วิธีการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสร้างต้นแบบนวัตกรรมกลยุทธ์ A STEP สู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยการศึกษาวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความตรงและความเหมาะสมของต้นแบบนวัตกรรมกลยุทธ์ A STEP สู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนไตรคามสามัคคี โดยการจัดประชาการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน, ครูในโรงเรียน จำนวน 12 คน, กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน , ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 คน และศึกษานิเทศก์ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้น 27 คน 2) การทดลองใช้ต้นแบบนวัตกรรมกลยุทธ์ A STEP สู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ดำเนินการทดลองใช้ต้นแบบนวัตกรรมกลยุทธ์ A STEP สู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในโรงเรียนไตรคามสามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 และ 3) ประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อต้นแบบนวัตกรรมกลยุทธ์ A STEP สู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนไตรคามสามัคคี รวมจำนวนทั้งสิ้น ๒๗๙ คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ต้นแบบนวัตกรรมกลยุทธ์ A STEP สู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนไตรคามสามัคคี พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( X-bar = 4.41, S.D. = 0.19 ) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความสอดคล้องของพันธกิจและกลยุทธ์ A STEP ( X-bar = 4.82, S.D. = 0.39 ) ความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ด้านความเห็นร่วมของบุคคลากรในโรงเรียน ( X-bar= 4.82, S.D. = 0.39 ) การคัดเลือกกลยุทธ์ A STEP บนพื้นฐานของเหตุผล ( X-bar= 4.71, S.D. = 0.47 ) และความสอดคล้องของพันธกิจและเป้าประสงค์ ( X-bar = 4.71, S.D. = 0.47 ) มีผลการประเมินอยู่ในระดับที่มากสุด ส่วนความสอดคล้องของ พันธกิจและมาตรการ ( X-bar= 3.67, S.D. = 0.44 ) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
2. ผลการทดลองใช้ต้นแบบนวัตกรรมกลยุทธ์ A STEP สู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนไตรคามสามัคคี พบว่า การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครู ทำให้ครูมีการปรับเปลี่ยนวิธีการสอน สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลากหลาย โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ มีการพัฒนาและใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม มีการนำกระบวนการวิจัย ในชั้นเรียนมาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ และการส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจและความถนัด มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง ได้คิด ได้ลงมือปฏิบัติจริง มีความสุขในการเรียนรู้ ส่งผลให้นักเรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น บรรลุเป้าหมายตามที่โรงเรียนกำหนด
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อต้นแบบนวัตกรรมกลยุทธ์ A STEP สู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนไตรคามสามัคคี พบว่า ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ A STEP ในการบกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ A STEP ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X-bar = 4.09, S.D. = 1.20 ) เมื่อพิจารณาประเด็น พบว่า ความสอดคล้องของแผนกลยุทธ์ในภาพรวม การส่งเสริมสนับสนุนจากผู้บริหารในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ A STEP การนิเทศติดตามและการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ A STEP การปรับปรุงให้เป็นกลยุทธ์ที่สมบูรณ์และระดับผลการเรียนรู้ของนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-bar = 4.65, 4.73, 4.51, 4.55, 4.02 ; S.D. = 0.75, 0.92, 0.85, 0.97, 1.02 ) ส่วนประเด็นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการสร้างแผนกลยุทธ์ A STEP การประชุมเตรียมการใช้แผนกลยุทธ์ A STEP ขั้นตอนการนำเสนอแผนกลยุทธ์ A STEP สู่การปฏิบัติ ระยะเวลาในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ A STEP และการให้ความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ A STEP มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X-bar = 3.47, 3.96, 3.78, 3.41, 3.82, S.D. = 0.39, 1.52, 1.41, 1.68, 1.62 )