ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง ตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสาวนิตติยา แก้วชัย
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ที่ใช้เพียงวิธีการถ่ายทอดความรู้ประกอบคำอธิบายเพิ่มเติม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักเรียนขาดทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ เป็นการเรียนรู้ที่เสริมสร้างให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในบทเรียน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้ จึงมีความมุ่งหมายเพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง ตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 75 / 75 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง ตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง ตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง ตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 53 คน จาก 2 ห้องเรียน โดยการกำหนดกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 26 คน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 27 คน จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ซึ่งได้มาโดยการได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง ตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.42 ถึง 0.77 และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.62 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 และแบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง ตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.84 ค่าความเชื่อมั่น 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t test (Independent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง ตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 84.26/82.26
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง ตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.7515 หรือคิดเป็นร้อยละ 75.15
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง ตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่ากลุ่มที่เรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง ตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง ตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ จึงสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เพื่อช่วยเพิ่มพูนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น และเพื่อช่วยให้นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้มากขึ้น