ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน นายสมพร หมั่นบ้านต้อน
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 8 เรื่อง ได้แก่ 1)โครงสร้างของพืช 2) หน้าที่ของราก ลำต้น ใบ 3) การคายน้ำ 4) ปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช 5) ปัจจัยที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 6) แสงกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง 7) กระบวนการสร้างอาหารของพืช และ 8) ความสำคัญของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแผนการจัดการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช จำนวน 8 แผน ได้แก่ 1)โครงสร้างของพืช 2) หน้าที่ของราก ลำต้น ใบ 3) การคายน้ำ 4) ปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช 5) ปัจจัยที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 6) แสงกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง 7) กระบวนการสร้างอาหารของพืช และ 8) ความสำคัญของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง ระหว่าง 0.07 ถึง 0.93 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง - 0.07 ถึง 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 93.68 / 92.88
2. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนหลังเรียนคะแนนเฉลี่ย(Mean = 37.15 ,S.D = 2.30)สูงกว่าก่อนเรียน (Mean = 19.60, S.D. = 3.41)
3. ดัชนีประสิทธิผลบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.86 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนสูงขึ้นร้อยละ 86
4. ความพึงพอใจนักเรียนมีการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด
จากผลการศึกษาค้นคว้าแสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีความก้าวหน้าและพัฒนาการทางการเรียนเพิ่มขึ้น นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีขั้นตอนที่สมบูรณ์ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการเสริมแรงตามทฤษฎีการวางเงื่อนไขของ สกินเนอร์ (Skinner) ที่กล่าวว่า การเสริมแรงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อระยะเวลาระหว่างการแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องกับการได้รับการเสริมแรงใกล้เคียงกันมากที่สุด การที่ได้รู้ว่าคำตอบของตนเองถูกต้อง จึงเป็นการเสริมแรงได้อีกอย่างหนึ่ง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนต่อไป