บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีจุดประสงค์ เพื่อสร้างและแสวงหาประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียน โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงาน และเพื่อศึกษาค้นคว้าเป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอน และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัด การศึกษา ได้นำแนวในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่อไป
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จำนวน 23 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประกอบด้วย คู่มือการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงาน แผนการจัดประสบการณ์ และแบบประเมินการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 แต่ละแผน
(2) แบบทดสอบเชิงปฏิบัติ (Performance test) การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล
ปีที่ 2
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าที (t-test Dependent)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับ
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 พบว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 แต่ละกิจกรรมมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 คือ = 83.39 และ 91.15
2. ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่า
ความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงาน สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
คำสำคัญ : การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงาน
*ครูชำนาญการ โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ เทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน