ชื่อผู้วิจัย เดชา ด้วงปราง
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาความสามารถด้านการคิด วิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์ โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) 2) พัฒนารูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) 3) ทดลองใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) 4) ประเมินผลการพัฒนาความสามารถด้านการคิด วิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์ โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) สังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง จำนวน 26 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม(Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น จำนวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ จำนวน 40 ข้อ แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t - test
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิด วิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.54/90.44
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) มีดังนี้
2.1 ค่าประสิทธิผลจากคะแนนของแบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ เท่ากับ 0.6750 แสดงว่านักเรียนมีความสามารถด้านการคิด วิเคราะห์เพิ่มขึ้น 0.6750 หรือคิดเป็นร้อยละ67.50
2.2 ค่าประสิทธิผลจากคะแนนของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 0.9008 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.9008 หรือคิดเป็นร้อยละ90.08
2.3 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.4 นักเรียนมีความสามารถด้านทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านท่าตะเภา) โดยรวมอยู่ในระดับมาก