ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบการสอนแบบ KASAMA Model
ผู้ศึกษา กษมา สาเกตุ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนบ้านวังคางฮูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบการสอนแบบ KASAMA Model ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ชุดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบ
การสอนแบบ KASAMA Model ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบการสอนแบบ KASAMA Model 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบการสอนแบบ KASAMA Model 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมเสริมทักษะ การเรียนรู้ทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบการสอนแบบ KASAMA Model กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังคางฮูง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 จำนวน 34 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการเรียนด้วยสถิติค่าที (t-dependent)
เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ในครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบการสอนแบบ KASAMA Model จำนวน 7 แผน 2) ชุดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบการสอนแบบ KASAMA Model จำนวน 7 เรื่อง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เกี่ยวกับชุดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ทัศนศิลป์ โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบการสอนแบบ KASAMA Model เป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบการสอนแบบ KASAMA Model จำนวน 10 ข้อ
ผลการศึกษา พบว่า
1. ชุดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบการสอนแบบ KASAMA Model
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.42/ 85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบการสอนแบบ KASAMA Model มีค่าเท่ากับ 0.5854 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.54
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบการสอนแบบ KASAMA Model มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมเสริมทักษะ การเรียนรู้ทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบการสอนแบบ KASAMA Model โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปได้ว่า ชุดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม ประกอบการสอนแบบ KASAMA Model สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ