ชื่อเรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านแม่ทาน
ผู้ประเมิน นายพิเชษฐ์ เพชรสำแดง
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่ทาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2
ปีการศึกษา 2559
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การรายงานผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านแม่ทาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพและเพื่อสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านแม่ทาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ปีการศึกษา 2559 โดยใช้รูปแบบการรายงานตามแนวคิดวงจรคุณภาพของ Deming (The Deming Cycle) PDCA ในด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการรายงานโครงการ ได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 56 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 โรงเรียนบ้านแม่ทาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 18 คน ครูผู้สอน จำนวน 6 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 25 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน สถิติที่ใช้ในการรายงานประกอบด้วย ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นประเภทแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านแม่ทาน ปีการศึกษา 2559
ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านแม่ทาน ปีการศึกษา 2559
ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านแม่ทาน ปีการศึกษา 2559 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านแม่ทาน ปีการศึกษา 2559
การรายงานผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านแม่ทาน ได้ดำเนินกิจกรรมเสริมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ 13 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมประกวดห้องเรียนสะอาด กิจกรรมผู้นำอนามัยนักเรียน กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด กิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธง กิจกรรมตรวจสุขภาพประจำสัปดาห์ กิจกรรมฟันสวยยิ้มใส กิจกรรมล้างมือ 7 ขั้นตอนประจำสัปดาห์ กิจกรรมรณรงค์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน กิจกรรมรณรงค์ด้านสุขภาพอนามัยในชุมชน กิจกรรมรณรงค์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกับการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกับการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
กิจกรรมหลักตามองค์ประกอบของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 องค์ประกอบ ได้แก่นโยบายของโรงเรียน การบริหารจัดการโรงเรียน โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชนการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ บริการอนามัยโรงเรียน สุขศึกษาในโรงเรียนโภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย การออกกำลังกาย กีฬาและนันทนาการ การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม การส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน
ผลการดำเนินงาน ได้ดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์ ห้องเรียนมีความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สรุปผลการให้คะแนนตลอดปีการศึกษา โดยภาพรวมทุกห้องเรียนมีผลการประเมินเฉลี่ยอยู่ในระดับดีเยี่ยม นักเรียนสามารถตรวจความสะอาดของร่างกายตัวเองและผู้อื่นได้ โรงเรียนไม่มีการจำหน่ายน้ำอัดลม น้ำหวาน ขนมกรุบกรอบ อาหารที่ไม่มีประโยชน์ในโรงเรียน นักเรียนร้อยละ 100 ไม่ติดยาเสพติดและสามารถนำความรู้ไปประชาสัมพันธ์ให้แก่ครอบครัวและชุมชนได้ น้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียนที่มีปัญหาไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานมีจำนวนลดลง ผลการตรวจสุขภาพประจำสัปดาห์พบว่า นักเรียนมีปัญหาลดลง ผลการตรวจสภาวะช่องปากของนักเรียน พบว่า สภาวะช่องปากของนักเรียนดีขึ้น นักเรียนร้อยละ 100 สามารถปฏิบัติกิจกรรมล้างมือ 7 ขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง ไม่พบลูกน้ำยุงลายในแหล่งน้ำขังภายในบริเวณโรงเรียน ไม่พบนักเรียนที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ชุมชนสามารถปฏิบัติตนให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัย มีการทิ้งขยะให้ถูกที่ ชุมชนได้รับความรู้เรื่องโรคที่เกิดจากลูกน้ำยุงลายและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่พบคนในชุมชนป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2558 ร้อยละ 69.43
ปีการศึกษา 2559 ร้อยละ 71.29 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.86
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ปีการศึกษา 2558 ร้อยละ 75.90 ปีการศึกษา 2559 ร้อยละ 76.06 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.16
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ปีการศึกษา 2558 ร้อยละ 72.94 ปีการศึกษา 2559 ร้อยละ 77.37 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.43
ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.45) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านผลผลิตมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาเป็นด้านสภาพแวดล้อม ถัดมาเป็นด้านกระบวนการ โดยด้านปัจจัยนำเข้ามีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
ความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.29) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้าน พบว่า ด้านสภาพแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาเป็นด้านผลผลิต ถัดมาเป็นด้านกระบวนการ โดยด้านปัจจัยนำเข้ามีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่าโดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄= 4.20) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้าน พบว่า ด้านสภาพแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาเป็นด้านกระบวนการ ถัดมาเป็นด้านผลผลิต โดยด้านปัจจัยนำเข้ามีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.19) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้าน พบว่า ด้านสภาพแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาเป็นด้านกระบวนการ ถัดมาเป็นด้านผลผลิต โดยด้านปัจจัยนำเข้ามีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ให้ประสบความสำเร็จมากขึ้นและผลการดำเนินงานเกิดความพึงพอใจต่อครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้มากขึ้น โรงเรียนต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีส่วนร่วมวางแผน ประสานงานและมีการดำเนินงานร่วมกันให้มากขึ้น ผู้บริหารควรสร้างความตระหนักให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน ให้เห็นถึงความสำคัญของการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ควรมีการติดต่อประสานงานระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ชุมชนในการดำเนินการให้รวดเร็วขึ้นและนำข้อมูลที่ได้จากผลการสำรวจความพึงพอใจของแต่ละฝ่ายมาวิเคราะห์ และหาแนวทางพัฒนาการดำเนินการในปีการศึกษาต่อไป