การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ ที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบาเงง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ ที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบาเงง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบาเงง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 เรื่อง คือ มาตราแม่กก มาตราแม่กด มาตราแม่กน และมาตราแม่กบ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ ที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ชุด มี 30 ข้อ 30 คะแนน เป็นแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก 3) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกด ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 22 แผน 22 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ 1) การทดสอบนัยสำคัญด้วย t test Dependent (บุญชม ศรีสะอาด, 2547 : 113) 2) หาคะแนนเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตาม มาตราตัวสะกด (ประภาพรรณ เส็งวงศ์, 2550:91) และ 3) การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
ผลที่ได้รับ
1. ผลการหาประสิทธิภาพ ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบาเงง จำนวน 13 คน ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สามารถทำกิจกรรมในแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ค่าเฉลี่ย 08.73 คิดเป็นร้อยละ 88.08 และสามารถทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 26.08 คิดเป็นร้อยละ 86.92 ดังนั้นประสิทธิภาพ จึงมีค่าเท่ากับ 88.08/86.92 สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ที่ตั้งไว้ สอดคล้องกับงานวิจัยของสมรักษ์ วัจนะเสนาะ (2552 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่องการสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพ 83.81/86.30
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักรเยนกลุ่มตัวอย่าง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบาเงง จำนวน 13 คน มีค่าเฉลี่ย 26.08 จากคะแนน เต็ม 30 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.86 คิดเป็นร้อยละ 86.92 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียน ที่มีค่าเฉลี่ย 21.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.09 คิดเป็นร้อยละ 80.26 หลังจากที่ทดสอบ ค่า t test แล้วปรากฏว่า ได้ค่า t เท่ากับ 7.21 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ที่ตั้งไว้ สอดคล้องกับงานวิจัยของสุชาดา จันทะวงศ์ (2551 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านร่องย้าง พบว่า กลุ่มประชากรมีความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์เท่ากับ 97.19/90.72 มีคะแนนทดสอบก่อนเรียนเฉลี่ย 17.86 คิดเป็นร้อยละ 59.52 มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเฉลี่ย 27.29 คิดเป็นร้อยละ 90.95
ข้อเสนอแนะ
1. ครูผู้สอนควรมีกิจกรรมเตรียมไว้สำหรับนักเรียนบางคนที่ทำกิจกรรมในแบบฝึกทักษะเสร็จก่อนคนอื่นๆ ได้ปฏิบัติ เช่น เตรียมหนังสืออ่านเพิ่มเติม ไว้ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า
2. ควนใช้แบบฝึกทักษะการเขียนควบคู่กับรูปแบบการสอนแบบต่างๆ เพื่อให้กระบวนการการเรียนการสอนนั้นๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ควรมีการสร้างบทเรียนแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในเนื้อหาสาระที่มีความยากและความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องตาม แนวการปฏิรูปการเรียนรู้ และพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น เรียนรู้ได้เร็วขึ้น