บทคัดย่อ
ชื่อผลงาน : รายงานผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (อายุ 5-6 ปี) โดยจัดกิจกรรมเกมการศึกษา โรงเรียนบ้านหก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
ชื่อผู้ศึกษา : กรรณิการ์ จรัสอารีกุล
ปีการศึกษา : 2560
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การจับคู่ การเรียงลำดับ การจัดหมวดหมู่และการนับจำนวน ระหว่างการจัดกิจกรรม
เกมการศึกษา ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (อายุ 5-6 ปี) โรงเรียนบ้านหก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เป็นรายสัปดาห์ จำนวน 10 สัปดาห์ และเพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การจับคู่ การเรียงลำดับ การจัดหมวดหมู่และการนับจำนวน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (อายุ 5-6 ปี) โรงเรียนบ้านหก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 จำนวน 5 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวน 30 แผน คู่มือการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวน 30 กิจกรรมและแบบทดสอบเชิงปฏิบัติการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 4 ทักษะ ประกอบด้วย การจับคู่ การเรียงลำดับ การจัดหมวดหมู่และการนับจำนวนจำนวน 20 ข้อ มีวิธีดำเนินการศึกษา ดังนี้ ทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยใช้แบบทดสอบเชิงปฏิบัติการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา จนครบ 10 สัปดาห์ในแต่ละสัปดาห์ได้ทำการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จนครบ 10 สัปดาห์และทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยใช้ชุดเดียวกันกับที่ได้ทำการทดสอบก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา จากนั้นนำคะแนนที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม เกมการศึกษาจำแนกเป็นรายด้านและภาพรวมโดยนำเสนอในรูปแบบตารางและภาพประกอบ คำบรรยาย
ผลการศึกษา พบว่า
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (อายุ 5-6 ปี) ระหว่างการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาจำนวน 10 สัปดาห์สูงขึ้น จากการประเมินรายสัปดาห์ในภาพรวมตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1-10 พบว่าแต่ละสัปดาห์มีคะแนนเฉลี่ย ดังนี้ 1.20 1.55 1.70 2.05 2.20 2.35 2.50 2.65 2.80 2.95 จะเห็นว่าในภาพรวมมีผลการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์ เมื่อจำแนกเป็นรายทักษะสัปดาห์ที่ 1-10 พบว่า การจับคู่ มีคะแนนเฉลี่ย 1.40 1.80 2.00 2.20 2.20 2.40 2.60 2.60 2.80 3.00 มีผลการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เพิ่มขึ้น คงที่และเพิ่มขึ้น การเรียงลำดับ มีคะแนนเฉลี่ย 1.20 1.40 1.80 2.00 2.20 2.20 2.40 2.60 2.80 3.00 มีผลการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เพิ่มขึ้น คงที่และเพิ่มขึ้น การจัดหมวดหมู่ มีคะแนนเฉลี่ย 1.00 1.40 1.60 1.80 2.00 2.20 2.40 2.60 2.60 2.80 มีผลการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เพิ่มขึ้น คงที่และเพิ่มขึ้น การนับจำนวน มีคะแนนเฉลี่ย 1.20 1.60 1.80 2.20 2.40 2.60 2.60 2.80 3.00 3.00 มีผลการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เพิ่มขึ้นและคงที่ แสดงให้เห็นว่าทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่สูงขึ้นทุกสัปดาห์ทั้งภาพรวมและรายด้าน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 1
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (อายุ 5-6 ปี) โดยจัดกิจกรรมเกมการศึกษา (จำแนกเป็นรายด้านและภาพรวม) หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา คือ การจับคู่ ก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ย 3.80 หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ย 4.80 มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย 1.00 คิดเป็นร้อยละ 20.00 การเรียงลำดับ ก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ย 3.20 หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ย 4.80 มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย 1.60 คิดเป็นร้อยละ 32.00 การจัดหมวดหมู่ ก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ย 3.00 หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ย 4.60 มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย 1.60 คิดเป็นร้อยละ 32.00 การนับจำนวน ก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนน 3.80 หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ย 5.00 มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย 1.20 คิดเป็นร้อยละ 24.00 แสดงให้เห็นว่าทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม เมื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังพบว่าหลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ย 4.80 คิดเป็นร้อยละ 96.00 ก่อนจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ย 3.45 คิดเป็นร้อยละ 69.00 มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย 1.35 คิดเป็นร้อยละ 27.00 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 2