บทคัดย่อ
เรื่อง : รายงานผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยจัดกิจกรรมเกมจากสื่อของจริง
ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4-5 ขวบ) โรงเรียนบ้านห้วยคุ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
ชื่อผู้ศึกษา : นฤมล ธูปมงคล
ปีการศึกษา : 2560
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การรู้ค่า 1-10 การจับคู่ การเปรียบเทียบและการเรียงลำดับ ระหว่างการจัดกิจกรรมเกมจากสื่อของจริง เป็นช่วงสัปดาห์ จำนวน 10 สัปดาห์ และเพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้แก่ การรู้ค่า 1-10 การจับคู่ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมจากสื่อของจริง ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4-5 ขวบ) โรงเรียนบ้านห้วยคุ จำนวน 19 คนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่คู่มือการจัดกิจกรรมเกมจากสื่อของจริง แผนการจัดกิจกรรมเกมจากสื่อของจริง และแบบทดสอบ เชิงปฏิบัติการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 4 ทักษะ จำนวน 20 ข้อ คือ การรู้ค่า 1-10 จำนวน 5 ข้อ การจับคู่ จำนวน 5 ข้อ การเปรียบเทียบจำนวน 5 ข้อ และการเรียงลำดับ จำนวน 5 ข้อ
วิธีดำเนินการศึกษา ได้แก่ ทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนการจัดกิจกรรมเกมจากสื่อของจริงโดยใช้แบบทดสอบเชิงปฏิบัติการที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ดำเนินการจัดกิจกรรมเกมจากสื่อของจริง ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4-5 ขวบ) ทำการทดสอบเป็นช่วงสัปดาห์ จนครบ 10 สัปดาห์ แล้วทำการทดสอบหลังการจัดกิจกรรมเกมจากสื่อของจริงด้วยแบบทดสอบ ชุดเดียวกับก่อนการจัดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4-5 ขวบ) ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมจากสื่อของจริงในภาพรวมและจำแนกเป็นรายทักษะ
ผลการศึกษา พบว่า
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ระหว่างการจัดกิจกรรมเกมจากสื่อของจริง เป็นช่วงสัปดาห์จำนวน 10 สัปดาห์ ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4-5 ปี) สูงขึ้น โดยค่าเฉลี่ย จากการประเมินในภาพรวม สัปดาห์ที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 1.26 สัปดาห์ที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 1.43 สัปดาห์ที่ 3 มีค่าเฉลี่ย 1.59 สัปดาห์ที่ 4 มีค่าเฉลี่ย 1.78 สัปดาห์ที่ 5 มีค่าเฉลี่ย 1.95 สัปดาห์ที่ 6 มีค่าเฉลี่ย 2.11 สัปดาห์ที่ 7 มีค่าเฉลี่ย 2.32 สัปดาห์ที่ 8 มีค่าเฉลี่ย 2.50 สัปดาห์ที่ 9 มีค่าเฉลี่ย 2.71 และสัปดาห์ที่ 10 มีค่าเฉลี่ย 2.91 เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1-10 ด้านการรู้ค่า 1-10 มีค่าเฉลี่ย 1.21 1.37 1.53 1.74 1.95 2.10 2.32 2.47 2.73 2.89 มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะไม่คงที่กล่าวคือสูงขึ้นทุกสัปดาห์ ด้านการจับคู่ มีค่าเฉลี่ย 1.37 1.58 1.79 2.00 2.16 2.36 2.53 2.79 3.00 3.00 มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะไม่คงที่กล่าวคือสูงขึ้นทุกสัปดาห์ ด้านการเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ย 1.32 1.42 1.58 1.74 1.89 2.05 2.26 2.42 2.63 2.95 มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะไม่คงที่กล่าวคือสูงขึ้น ทุกสัปดาห์ ด้านการเรียงลำดับ มีค่าเฉลี่ย 1.16 1.32 1.47 1.63 1.79 1.94 2.16 2.32 2.47 2.79 มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะไม่คงที่กล่าวคือสูงขึ้นทุกสัปดาห์ แสดงให้เห็นว่าทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4-5 ขวบ)
สูงขึ้นตามลำดับ
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมจากสื่อของจริง กล่าวคือ โดยรวมหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 4.82 คิดเป็นร้อยละ 96.40 ก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 3.34 คิดเป็นร้อยละ 66.80 ความก้าวหน้ามีค่าเฉลี่ย 1.48 คิดเป็นร้อยละ 29.50 และเมื่อจำแนกเป็นรายทักษะ พบว่า การรู้ค่า 1-10 หลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 4.84 ก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 3.52 ความก้าวหน้ามีค่าเฉลี่ย 1.32 คิดเป็นร้อยละ 26.40 การจับคู่ หลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 4.74 ก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 3.21 ความก้าวหน้ามีค่าเฉลี่ย 1.53 คิดเป็นร้อยละ 30.60 การเปรียบเทียบ หลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 4.84 ก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 3.21 ความก้าวหน้ามีค่าเฉลี่ย 1.63 คิดเป็นร้อยละ 32.60 และการเรียงลำดับ หลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 4.84 ก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 3.42 ความก้าวหน้ามีค่าเฉลี่ย 1.42 คิดเป็นร้อยละ 28.40 แสดงให้เห็นว่าทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4-5 ขวบ) สูงขึ้น