ชื่อเรื่อง : การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็ม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนครนนท์วิทยา ๔ วัดบางแพรกเหนือ
ผู้รายงาน : นางสุมาลี เจริญรอย ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา : 2558-2559
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับ
แบบโฟร์แมทซีสเต็ม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนครนนท์วิทยา ๔ วัดบางแพรกเหนือ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ คือ 1) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีส ให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็ม ให้มีประสิทธิผล 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็ม 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็ม และ 5) เพื่อวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ 1) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ สำนักการศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี ปีการศึกษา 2558 2559 รวมทั้งสิ้น จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็น คู่มือสำหรับครู ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง แสงน่ารู้ จำนวน 5 แผน ใช้เวลา 18 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบแบบ 4 ตัวเลือก คือ ก. ข. ค. และ ง. จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (P) อยู่ระหว่าง 0.46 0.75 ค่าอำนาจจำแนก (B) อยู่ระหว่าง 0.50 0.98 และมีค่าความเชื่อมั่น (KR -20) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.647 แบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเที่ยง ( α ) เท่ากับ 0.74 และแบบวัดเจตคติ มีค่าความเที่ยง
( α ) เท่ากับ 0.74 ซึ่งเครื่องมือในการวิจัยทั้งหมดนี้ ได้ผ่านการตรวจสอบหาคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญเรียบร้อยแล้ว และมีสถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟแมทซีสเต็ม มี ประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.63/81.46 ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.6942 หรือคิดเป็นร้อยละ 69.42 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.48และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.59 เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.50 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.59
บทนำ
สังคมไทยในปัจจุบันเป็นยุคแห่งความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ ข้อมูลข่าวสารมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ การจัดการศึกษาในยุคปัจจุบัน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาคนให้มีความสามารถในการวิเคราะห์และการเชิงวิเคราะห์ เพื่อให้สอดรับกับสภาพความเปลี่ยนแปลงต่างที่เกิดขึ้นจึงทำให้การศึกษาเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมมากขึ้น เนื่องจากการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของคนสอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง(พ.ศ. 2552-2561) ที่เน้นการปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเร่งด่วน เพื่อพัฒนาคุณภาพของสังคมไทยยุคใหม่ ให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ มีความสามารถในการสื่อสาร คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา ทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างเป็นกัลยาณมิตร มีทักษะความรู้พื้นฐานที่จำเป็น โดยจัดหลักสูตรการเรียนการสอน การวัดการประเมินผลอย่างมีคุณภาพ เพื่อเอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา (สำนักการเลขาธิการสภาการศึกษา. 2552 : 10-15)
จากการสังเกตการเรียนการสอนในชั้นเรียนและผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน
( O-NET)ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนครนนท์วิทยา ๔ วัดบางแพรกเหนือ ปีการศึกษา 2557 พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 47.03 (สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.2558) การประเมินคุณภาพนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดนนทบุรี พบว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เฉลี่ย 47.35 และจากการประเมินตนเอง(Self Assessment Report) ของปีการศึกษา 2557 ผลการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 55 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ร้อยละ 60 สาเหตุอาจเป็นเพราะการจัดการเรียนการสอนภายในชั้นเรียน มุ่งเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชามากกว่าการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงและไม่เน้นกระบวนการที่ทำให้นักเรียนได้พัฒนาการคิด อีกทั้งยังไม่ได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ประกอบการเรียนการสอน (สำนักการศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี. 2558 : 25) ส่งผลให้นักเรียนขาดความรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การคิดวิเคราะห์ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ จากสภาพปัญหาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยเน้นให้นักเรียนมีการคิดวิเคราะห์ ได้ฝึกฝนเรียนรู้ ได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการเรียนรู้ในการพัฒนาและส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จึงจำเป็นต้องอาศัยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาการคิดเข้ามาช่วย ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็ม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นรูปแบบที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น ระหว่างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาและรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมทซีสเต็ม รวมเข้าด้วยกัน โดยที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ผ่านวิทยาการการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการแก้ปัญหาที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดองค์ความรู้ในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยครูผู้สอนทำหน้าที่ในการเตรียมแหล่งข้อมูลและคอยให้ความช่วยเหลือ เป็นผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้ให้คำแนะนำ ทำหน้าที่ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทำงานเป็นทีม กระตุ้น แนะนำและให้คำปรึกษา เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการคิดวิเคราะห์และส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้
1. เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบ สะเต็มศึกษา
ร่วมกับแบบ โฟร์แมทซีสเต็ม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ให้มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบ สะเต็มศึกษา
ร่วมกับแบบ โฟร์แมทซีสเต็ม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด ให้มีประสิทธิผล
3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็ม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบ
สะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็ม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์
5. เพื่อวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ขอบเขตการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดขอบข่ายของการวิจัย ดังนี้
1. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ สำนักการศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี ปีการศึกษา 2559 จำนวน 65 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2
โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ สำนักการศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี ปีการศึกษา 2559 จำนวน 32 คน โดยการสุ่มคัดเลือกแบบกลุ่ม(Clustur Random Sampling) ด้วยการจับฉลากเป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis)
2. ขอบเขตด้านเนื้อหา คือ เรื่องแสงน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
3.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็ม
3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดวิเคราะห์ 2) ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็ม และ3) เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ผลการวิจัย
ผลการวิจัยมีดังนี้
1. ผลการศึกษาประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็มเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.63/81.46
2. ผลการศึกษาดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของรูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็ม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์
มีดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.6942 หรือคิดเป็นร้อยละ 69.42
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็ม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบ
สะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็ม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.48และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.59
5. ผลการศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.50 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.59
อภิปรายผลการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้ สามารถอภิปรายผลการวิจัยได้ดังนี้
1. การศึกษาประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบ สะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็ม มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.63/81.46 หมายความว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ซึ่งได้แก่การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟแมทซีสเต็ม พบว่าใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนำไปใช้กับนักเรียนทำให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น โดยการเปรียบเทียบทั้งคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน เนื่องจากกระบวนการและขั้นตอนในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องแสงน่ารู้ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีกระบวนการสร้างโดยใช้หลักการและพื้นฐานทางด้านจิตวิทยา และหลักการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ได้ดำเนินการอย่างมีขั้นตอนด้วยวิธีการที่เหมาะสม คือ ได้ศึกษาหลักสูตร คู่มือครู เนื้อหาวิชา วิเคราะห์เนื้อหาวิชาและจุดประสงค์การเรียนรู้ สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล และประเมินผลตลอดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี รูปแบบการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จึงส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนสูงขึ้น สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศุภวัฒน์ ทรัพย์เกิด (2559 : 81-82) ที่ได้ทำการวิจัยและค้นพบว่าการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ช่วยเสริมสร้างการคิดประมวลผลของนักเรียน เพราะเป็นการจัดการเรียนรู้ที่บนพื้นฐาน การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาจะกำหนดสถานการณ์ที่เป็นปัญหาเพื่อท้าทายการคิดของนักเรียน เพื่อให้กิดความสนใจและค้นคว้าด้วยตนเอง โดยเน้นให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และให้ข้อมูลย้อนกล้บแก่ผู้เรียน เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียน เพื่อนำความรู้ที่ได้มาหาแนวทางในการสร้างชิ้นงาน ผ่านกระบวนการทางวิศวกรรมสำหรับนำไปใช้แก้ปัญหา
2. ผลการศึกษาดัชนีประสิทธิผล (E.I.) รูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบ สะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็ม มีดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.6942 หรือคิดเป็นร้อยละ 69.42 หมายความว่า นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบ สะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็ม มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีการบูรณาการมาจากรูปแบบ 2 รูปแบบคือรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา และ แบบโฟร์แมทซีสเต็ม มีการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีลำดับขั้นตอนการสอน ไว้อย่างชัดเจนและเป็นระบบ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมภายใต้หลักการที่เป็นเหตุเป็นผล สอดคล้องตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด ยึดหลักปฏิบัติให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ โดยจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่ผสมผสาน ดังเช่นที่สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า (2545 : 70) ได้สรุปว่า แผนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้สอนเลือกเทคนิควิธีสอนที่ดี สื่อการวัดผลประเมินผลตรงจุดประสงค์ การเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้และสอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตร มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ นักเรียนได้นำความรู้มาเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อร่วมตรวจสอบ ทำให้ทุกคนมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมต่อไป
3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน การจัดการเรียนรู้แบบ สะเต็มศึกษา ร่วมกับแบบ โฟร์แมทซีสเต็ม มีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องมาจากกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาและแบบโฟแมทซีสเต็มที่ผู้วิจัยได้ออกแบบ มีลักษณะเป็นการเรียนรู้ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แล้วใช้กระบวนการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีมาบูรณาการใช้แก้ปัญหาภายใต้สถานการณ์และเงื่อนไขที่กำหนดให้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ พลศักดิ์ แสงพวงศรีและคณะ(2558 : 411) ได้เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและเจตคติต่อการเรียนเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับแบบปกติ ผลการวิจัยนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง และเจตคติต่อการเรียนเคมี หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบ
สะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็ม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.48 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.59 เนื่องมาจาก รูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับแบบโฟร์แมทซีสเต็ม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ กิจกรรมที่หลากหลายได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม ทำให้นักเรียนไม่เกิดความเบื่อหน่าย เมื่อสมองมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ นักเรียนจึงจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีและมีความหมายโดยตรงกับนักเรียน
5. ผลการศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ สำนักการศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.50 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.59 เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบ สะเต็มศึกษา ร่วมกับแบบ โฟร์แมทซีสเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ช่วยทำให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์เพิ่มมากขึ้นจากเดิมมากขึ้น และช่วยฝึกให้นักเรียนเป็นคนกล้าแสดงออก และพัฒนาทักษะกระบวนการทางความคิดให้กับนักเรียน จนสามารถนำความรู้ ความสามารถที่ได้จากการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต เพื่อการศึกษาและพัฒนาการประกอบอาชีพในอนาคตได้ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ พลศักดิ์ แสงพวงศรีและคณะ(2558 : 411) ได้เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและเจตคติต่อการเรียนเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับแบบปกติ ผลการวิจัยนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง และเจตคติต่อการเรียนเคมี หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
ข้อเสนอแนะการวิจัย
1. ควรมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในระดับชั้นอื่นๆ ด้วย โดย
ให้มีเนื้อหาสาระที่หลากหลายตรงกับความสนใจและความต้องการของนักเรียน
2. ควรมีการศึกษาและพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ และการคิดแก้ไขปัญหา ตลอดจนการคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีทักษะที่หลากหลายและเป็นระบบในเรื่องอื่นๆ ต่อไป
เอกสารอ้างอิง
พลศักดิ์ แสงพวงศรีและคณะ. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง และเจตคติต่อการเรียนเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษากับแบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 9 ฉบับพิเศษ เมษายน 2558 : 401-418.
ศุภวัฒน์ ทรัพย์เกิด. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงประมวลผล ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา วิชาโปรแกรมและการประยุกต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุกุลนารี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า. (2545). ยุทธศาสตร์การปรับวิธีเรียน การเปลี่ยนวิธีสอน
เพื่อเตรียมสู่ความก้าวหน้าในอนาคต. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า
สำนักการศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี. (2558). รายงานผลการประเมินตนเอง(SAR)
ประจำปีการศึกษา 2557. เทศบาลนครนนทบุรีฯ : ผู้แต่ง.
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานทางการศึกษา. (2549). แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์. กรุงเทพ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.