ภาวินี ศรีพูน. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 3 เรื่อง พหุนาม และเศษส่วนของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค STAD. โรงเรียนบัวใหญ่ : นครราชสีมา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 3
เรื่อง พหุนามและเศษส่วนของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 3 เรื่อง พหุนามและเศษส่วนของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค STAD โดยผู้เรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของผู้เรียนทั้งหมดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 75 ขึ้นไป และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 3 เรื่อง พหุนามและเศษส่วนของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค STAD
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอ บัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 36 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 3 เรื่อง พหุนามและเศษส่วนของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค STAD จำนวน 12 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการสอนของผู้วิจัย แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน แบบบันทึกผลหลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้และแบบทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการ และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 3 รหัสวิชา ค20203 เรื่อง พหุนามและเศษส่วนของพหุนาม จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 3 เรื่อง พหุนามและเศษส่วนของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค STAD จำนวน 20 ข้อ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวงจรปฏิบัติการ 3 วงจร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละและสรุปความเรียง
ผลการวิจัย พบว่า
1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 3 เรื่อง พหุนามและเศษส่วน
ของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค STAD เป็นรูปแบบการสอนที่ดีมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง โดยมีขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การนำเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น เป็นการแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และทบทวนความรู้เดิม โดยการซักถาม การสนทนา และนำเสนอเนื้อหาใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมและเร้าความสนใจของผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเรื่องใหม่ 2) ขั้นการศึกษากลุ่มย่อย เป็นการให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละประมาณ 4 - 5 คน ประกอบด้วย ผู้เรียนที่เรียนเก่ง ผู้เรียนที่เรียนปานกลาง และผู้เรียนที่เรียนอ่อน โดยให้แต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้จากแบบฝึกทักษะ แล้วอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ โดยผู้วิจัยคอยสังเกตให้คำแนะนำและปรึกษาอย่างใกล้ชิด จากนั้นจึงสรุปเนื้อหาสาระที่ได้จากการศึกษาและการอภิปรายภายในกลุ่ม โดยเป็นการสรุปร่วมกันระหว่างผู้วิจัยกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจนและเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนมากขึ้น 3) ขั้นการทดสอบย่อย หลังสิ้นสุดการเรียนในแต่ละวงจรปฏิบัติการ ผู้เรียนทำแบบทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการ โดยต่างคนต่างทำ ไม่มีการช่วยเหลือกัน 4) ขั้นการคิดคะแนนความก้าวหน้า เป็นการหาผลต่างระหว่างคะแนนฐานกับคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการ เพื่อหาคะแนนความก้าวหน้าของกลุ่ม
และ 5) ขั้นการคิดคะแนนกลุ่มที่ได้รับการยกย่อง เป็นการนำคะแนนความก้าวหน้าของกลุ่มมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แล้วทำการจัดลำดับของกลุ่มเพื่อรับรางวัลเป็นกลุ่มเก่ง กลุ่มเก่งมาก และกลุ่มยอดเยี่ยมยกย่องชื่นชมกลุ่มที่ประสบผลสำเร็จและมอบรางวัลตามที่ตกลงกันไว้ให้กับกลุ่มที่ประสบผลสำเร็จ มีคะแนนจากการทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการที่ 1 , 2 และ 3 คิดเป็นร้อยละ 76.10 , 77.60 และ 83.90 ตามลำดับ และในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ผู้เรียนได้รับพัฒนาการผ่านรูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความสามัคคี ความรับผิดชอบ กล้าแสดงออกและมีความมั่นใจในตนเอง
2. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 3 เรื่อง พหุนามและเศษส่วนของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 80.56 และมีจำนวนผู้เรียนร้อยละ 83.33 ของผู้เรียนทั้งหมดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 75 ขึ้นไป
3. การศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 3 เรื่อง พหุนามและเศษส่วนของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค STAD อยู่ในระดับมาก ("σ" = 4.48)