ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระ
ลดรูปและเปลี่ยนรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนบ้านไม้ตะเคียน
ชื่อผู้ศึกษา นางวันวิสา คำพิกาศ วิทยฐานะ ชำนาญการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านไม้ตะเคียน อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไม้ตะเคียน ตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไม้ตะเคียน ผู้ศึกษาสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน ทั้งหมด 8 เล่ม ดำเนินการศึกษา โดยนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 ข้อ ไปทดสอบกับนักเรียนประชากรกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนภาษาไทย เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 8 คน โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน ตรวจและเก็บข้อมูลคะแนนไว้ ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ทุกแผน โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 26 แผน เวลาที่ใช้ 26 ชั่วโมง ผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูลคะแนนของนักเรียนจากการทำแบบฝึกทักษะแต่ละเล่ม เป็นรายบุคคล เมื่อดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครบทุกแผนการจัดการเรียนรู้ แล้ว ให้นักเรียนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน และให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไม้ตะเคียน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไม้ตะเคียน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไม้ตะเคียน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนบ้านไม้ตะเคียน ตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ทั้ง 8 เล่ม มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.77/84.17 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้แสดงว่าแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ที่ผู้สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพนำไปใช้ได้
2. ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนการใช้แบบฝึกทักษะและหลังการใช้แบบฝึกทักษะแตกต่าง โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนใช้แบบฝึกทักษะ เท่ากับ 14.00 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 46.67 และภายหลังใช้แบบฝึกทักษะมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 25.25 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.17เมื่อเปรียบเทียบคะแนนทั้งสองพบว่า คะแนนภายหลังการใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนการใช้แบบฝึกทักษะ คิดเป็นร้อยละความก้าวหน้า 46.67
3. การวิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระลดรูปและเปลี่ยนรูป สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.68