ชื่อเรื่อง รายงานผลการสร้างหนังสือนิทานอีสปประกอบการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน รัชดา อาคุณซาดา
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส
อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างหนังสือนิทานอีสปประกอบการสอนกิจกรรม
เสริมประสบการณ์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมที่ใช้หนังสือนิทานอีสปประกอบการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ
3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมด้านการคิดเชิงเหตุผล ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส จำนวนนักเรียน 25 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือทีใช้ในการพัฒนา ได้แก่ หนังสือนิทานอีสปประกอบการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 42 เรื่อง แผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 42 แผนการจัดประสบการณ์ แผนการจัดประสบการณ์ละ 20 นาที ใช้สอนเป็นเวลา 14 สัปดาห์ แบบวัดผล สัมฤทธิ์ก่อนเรียน หลังเรียน และแบบประเมินพฤติกรรมด้านการคิด
เชิงเหตุผล สำหรับผู้ปกครองสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency)
ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Division )
ผลการศึกษาพบว่า
1. หนังสือนิทานอีสปประกอบการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ของนักเรียนชั้นอนุบาล
ปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เฉลี่ยเท่ากับ 84.65/85.07 ดังนั้น หนังสือนิทานอีสปประกอบ
การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 แต่ละเล่มมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางด้านการคิดเชิงเหตุผล ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้หนังสือนิทานอีสปประกอบการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. จากการประเมินของผู้ปกครองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ทั้ง 3 ประเด็น ได้แก่
ด้านการเปรียบเทียบ ด้านการจัดประเภท และด้านการสรุปความ ก่อนเรียน ทั้งหมด จำนวน 12 ข้อ ผลปรากฏว่า นักเรียนมีพฤติกรรมด้านการคิดเชิงเหตุผลทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับน้อย ( = 1.17)
โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.24 ถึง 2.16 โดยนักเรียนมีพฤติกรรมจับคู่สิ่งของที่มีความสัมพันธ์กัน
มีค่าเฉลี่ย 2.16 รองลงมาคือตั้งคำถามที่เจาะจงสิ่งที่ต้องการเปรียบเทียบได้ และเมื่อประเมินพฤติกรรมด้านการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนหลังจากการจัดการเรียนการสอนด้วยหนังสือนิทานอีสบประกอบการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ผลปรากฏว่า พฤติกรรมด้านการคิดเชิงเหตุผลทั้ง 3 ประเด็นของนักเรียนอยู่ในระดับปานมาก ( = 2.71) โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.54 ถึง 2.92 โดยมีการคิดเชิงเหตุผลในด้านการสรุปความมีทักษะการประดิษฐ์สิ่งของจากการฟังหรือดูได้ มี่ค่าเฉลี่ย 2.92 รองลงมา คือด้านการเปรียบเทียบ มีทักษะการแจกแจงองค์ประกอบของสิ่งของที่ต้องการได้ มีค่าเฉลี่ย 2.83 และคิดเชื่อมโยงโดยการเปรียบเทียบจากสิ่งหนึ่งไปสู่อีก
สิ่งหนึ่งเท่ากับ 2.54