ผู้วิจัย นายทินภัทร สิมมาสุด ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนบ้านร่องสมอ ตำบลโนนทัน อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ให้จำนวนนักเรียนร้อยละ 70 ขึ้นไป มีผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านโคกสงเปือยดอนดู่วิทยา ตำบลทุ่งชมพู อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง บทประยุกต์ จำนวน 12 แผน 2 ) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ / แบบบันทึกประจำวัน ผลงานนักเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกผลการประเมินด้านกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบสัมภาษณ์ และแบบทดสอบท้ายวงจร 3 ) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสรุปความเรียง
ผลการวิจัย พบว่า
1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตามแนว คิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ วิสต์ เรื่องบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้ 1) ขั้นนำ 2) ขั้นสอน ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ขั้นตอน (1) เผชิญสถานการณ์ปัญหาและแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล (2) กิจกรรมไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย (3) กิจกรรมไตร่ตรองระดับชั้นเรียน 3) ขั้นสรุปผล
2. การศึกษากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนทำแบบทดสอบขั้นการทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหา ได้มากที่สุด คิดเป็นคะแนนร้อยละ 100 รองลงมาคือด้านการตรวจสอบ คิดเป็นคะแนนร้อยละ 70 ขั้นการวางแผนการแก้ปัญหา คิดเป็นคะแนนร้อยละ 68 และขั้นที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ ขั้นการดำเนินการแก้ปัญหา คิดเป็นคะแนนร้อยละ 65 โดยภาพรวมแล้วนักเรียนมีคะแนนกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 75.75
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เฉลี่ยร้อยละ 77.83 และนักเรียนจำนวนร้อยละ 85 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป