ชื่อเรื่อง รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ผู้วิจัย นางบงกช วิลาศรี
ปีที่วิจัย ๒๕๕๘
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนตามรูปแบบ การเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ กับรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ ๓) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ กับรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ
ขั้นตอนในการพัฒนา มี ๕ ขั้น ได้แก่ ๑) การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ ๒) การออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ ๓) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ๔) การทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ ๕) การประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง มี ๒ กลุ่ม ได้แก่ ๑) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๑๒ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบการเรียนรู้ จำนวน ๖คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน ๓ คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและวิธีการ จำนวน ๓ คน ๒) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม จำนวน ๒ กลุ่ม กลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๒๗ คน และกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน ๒๗ คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ๑) ร่างรูปแบบการเรียนรู้ ๒) แบบสอบถามด้านความเหมาะสมของรูปแบบ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๑ แบบสอบถามด้านเนื้อหาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๓ และแบบสอบถามด้านเทคนิคและวิธีการที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๐ ๓) แผนการจัดการเรียนรู้ ที่มีคุณภาพ ๔) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๒ และ ๕) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๖ การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จาก การระดมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ การสอบถามความคิดเห็น การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การพรรณนาวิเคราะห์ และใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความแตกต่าง t-test โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ประเด็นเชิงเนื้อหาในข้อค้นพบ นำเสนอประกอบความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
๑. การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ได้รูปแบบที่มีองค์ประกอบ ๔ องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดีย แนวทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์และทฤษฎีการคิดวิเคราะห์ องค์ประกอบด้านหลักการ ได้แก่ ด้านครูผู้สอน
ด้านผู้เรียน ด้านเครื่องมือและด้านการประเมินผล องค์ประกอบด้านกิจกรรมการเรียนรู้ มี ๖ ขั้นตอนได้แก่ ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นกระตุ้นความคิด ขั้นวางแผนการเรียนรู้ ขั้นเรียนรู้ผ่านสื่อ ขั้นสรุปความคิดและขั้นประเมินผลการเรียนรู้ องค์ประกอบด้านการประเมินผล ได้แก่ ประเมินผลการเรียนรู้ และประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อรูปแบบการเรียนรู้
อยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๙๒, S.D. = ๐.๑๙)
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดีย
สูงกว่าผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๓. ทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดีย
สูงกว่าผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕