ชื่อผลงาน : การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านดอนโรงมิตรภาพ
ที่ 196 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ลักษณะผลงาน : การประเมินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่
ผู้ประเมิน : นายจิตติพร จิตตรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนโรงมิตรภาพที่ 196
ปีพุทธศักราช : 2559
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านดอนโรงมิตรภาพที่ 196 อำเภอเชียรใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ ความเหมาะสมของกิจกรรม และความสอดคล้องกับหลักการของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ความเหมาะสมของงบประมาณ ความเพียงพอของสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ความเหมาะสมของสถานที่ และหน่วยงานที่สนับสนุน 3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน การวางแผนการดำเนินกิจกรรม การดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน การกำกับติดตาม ประเมินผลกิจกรรม การประชุม สรุป เพื่อวางแผนพัฒนากิจกรรม 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับด้านสภาวะสุขภาพของนักเรียนด้านการเรียนรู้ และปฏิบัติตนจนเกิดพฤติกรรมสุขภาพ ด้านผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพทั้ง 10 องค์ประกอบ และด้านความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ครู คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพ นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดอนโรงมิตรภาพที่ 196 ในปีการศึกษา 2559 รวมทั้งสิ้น จำนวน 100 คน ประกอบด้วย 1) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน 2) ครู จำนวน 6 คน 3) คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 5 คน 4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 6 จำนวน 39 คน 5) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 38 คน 6) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ดังนี้ 1) แบบสอบถามประเมินประเด็นบริบทก่อนการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านดอนโรงมิตรภาพที่ 196 2) แบบสอบถามประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้า ประเมินระยะต้นและระหว่างโครงการ 3) แบบสอบถามประเมินประเด็นกระบวนการในการดำเนินกิจกรรมประเมินระหว่างโครงการ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องด้านผลผลิตเกี่ยวกับสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ 5) แบบสอบถามด้าน ผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพทั้ง 10 องค์ประกอบ ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ
การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าสถิติ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการประเมิน และข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น ทุกตัวชี้วัด และภาพรวมของโครงการดังนี้
1. ผลการประเมินประเด็นบริบทของโครงการในภาพรวมพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดทั้ง 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ ความเหมาะสมของกิจกรรม และความสอดคล้องกับหลักการของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ในภาพรวมพบว่าผ่านเกณฑ์ การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดทั้ง 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความพร้อมของบุคลากร ความเหมาะสมของงบประมาณ ความเพียงพอของสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ความเหมาะสมของสถานที่ และหน่วยงานที่สนับสนุน พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด
3. ผลการประเมินประเด็นด้านกระบวนการของโครงการในภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดทั้ง 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน การวางแผนการดำเนินกิจกรรม การดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน การกำกับติดตาม ประเมินผลกิจกรรม และการประชุม สรุป เพื่อวางแผนพัฒนากิจกรรม ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกตัวชี้วัด โดยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินประเด็นผลผลิตของโครงการในภาพรวมพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดทั้ง 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านสภาวะสุขภาพของนักเรียน ด้านการเรียนรู้และปฏิบัติตนจนเกิดพฤติกรรมสุขภาพ ด้านผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ทั้ง 10 องค์ประกอบ และด้านความพึงพอใจต่อโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด
ดังนั้น จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะให้มีการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านดอนโรงมิตรภาพที่ 196 อำเภอเชียรใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ต่อไป ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องตระหนักและเห็นความสำคัญ ให้ความร่วมมือ สนับสนุนอย่างจริงจัง มีการกำกับติดตามผล การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ