ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนรำวงเวียนครกด้วยชุดฝึกทักษะปฏิบัติปลูกฝังจิตสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษา ว่าที่ร้อยตรีหญิงศิริเพ็ญ ประเดิมดี
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนรำวงเวียนครกด้วยชุดฝึกทักษะปฏิบัติปลูกฝังจิตสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดชัยชุมพล เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการพัฒนารูปแบบการสอนรำวงเวียนครกด้วยชุดฝึกทักษะปฏิบัติปลูกฝังจิตสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านนาฏศิลป์ 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนรำวงเวียนครกด้วยชุดฝึกทักษะปฏิบัติปลูกฝังจิตสำนึกรักบ้านเกิด ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานกำหนดไว้ที่ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านนาฏศิลป์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนรำวงเวียนครกด้วยชุดฝึกทักษะปฏิบัติปลูกฝังจิตสำนึกรักบ้าน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนรำวงเวียนครกด้วยชุดฝึกทักษะปฏิบัติปลูกฝังจิตสำนึกรักบ้านเกิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดชัยชุมพล เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ชนิด ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนรำวงเวียนครกด้วยชุดฝึกทักษะปฏิบัติปลูกฝังจิตสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (2) แบบประเมินความรู้และความสามารถด้านนาฏศิลป์ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การแสดงพื้นบ้าน(รำวงเวียนครก)ซึ่งผ่านการหาคุณภาพของแบบประเมินโดย มีการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างคำถามและจุดประสงค์ (IOC) อยู่ระหว่าง 0.50 - 1.0 ค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.80 และได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนนาฏศิลป์ด้วยชุดฝึกทักษะปฏิบัติปลูกฝังจิตสำนึกรักบ้านเกิด เป็นแบบประมาณค่า (Rating Scales) จำนวน 20 ข้อ ที่ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญโดยมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.50 1.0 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า ที แบบไม่อิสระ (t test Dependent)
ผลการวิจัย
1.ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานความต้องการพัฒนารูปแบบการสอนรำวงเวียนครกด้วยชุดฝึกทักษะปฏิบัติปลูกฝังจิตสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ครูผู้สอน และนักเรียน ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับความต้องการในการจัดการเรียนการสอน พบว่า ครูมีความจำเป็นและมีความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนรำวงเวียนครก ได้แก่ ความต้องการรูปแบบการสอน วิธีการ เทคนิคการสอนและสื่อการเรียนการสอนที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านนาฏศิลป์ ที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ต้องการเทคนิควิธีการสอนที่กระตุ้นจูงใจเร้าความสนใจในการเรียนที่ปลูกฝังจิตสำนึกรักบ้านเกิด
2. ผลการออกแบบได้รูปแบบการสอนรำวงเวียนครกด้วยชุดฝึกทักษะปฏิบัติปลูกฝังจิตสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ที่สร้างขึ้นมีชื่อเรียกว่า Pwlt-papek Model โดยมีส่วนประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน เนื้อหาสาระการเรียนรู้ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุนระบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8 ขั้นตอน ดังนี้ 1) เตรียมความพร้อมสร้างประการณ์(Prepare For any experiences.: P) 2) วางแผนงานร่วมเรียนรู้(Working plan for start learning.: W) 3) เชื่อมโยงสู่กรอบเนื้อหา (Link to translated content.: L) 4) แปลงสาระเป็นบทเพลง (Translated from abstract to be song. : T) 5) ฝึกตนเองตามแบบอย่าง (Pratice self discipline.: P) 6)ประยุกต์สร้างสรรค์งานใหม่(Apply and create new work : E) 7) ภาคภูมิใจนำเสนอ(Proudly to Presentation : P) 8) ไม่พลั้งเผลอประเมินผล(Do not miss to Judged for evaluate. : D) 9) รู้คงทนและแม่นยำ (Know durable and accurate. : K)ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการสอน ที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้อง( IOC) ของรูปแบบการสอน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.89 และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ (E1 / E2) กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 87.03 / 86.69 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 80 / 80
3. ความสามารถด้านนาฏศิลป์ของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการสอนรำวงเวียนครกด้วยชุดฝึกทักษะปฏิบัติปลูกฝังจิตสำนึกรักบ้านเกิด จำนวน 34 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลองครั้งนี้ ผลการประเมินความสามารถด้านความรู้และทักษะปฏิบัติก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05โดยค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนรำวงเวียนครกด้วยชุดฝึกทักษะปฏิบัติปลูกฝังจิตสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 34 คน ซึ่งเป็นนักเรียนกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนรำวงเวียนครกด้วยชุดฝึกทักษะปฏิบัติปลูกฝังจิตสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านนาฏศิลป์ มีค่าเฉลี่ยรวม 4.65 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.18 อยู่ในระดับมากที่สุด