ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน โรงเรียนวัดไพรสณฑ์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2558-2559
ลักษณะผลงาน : รายงานการพัฒนางานที่เกี่ยวกับผลจากการบริหารสถานศึกษา
ผู้รายงาน : นายสัญญา ทองมีขวัญ
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไพรสณฑ์ อำเภอเมืองตรัง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2558-2559
บทสรุป
การประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน โรงเรียนวัดไพรสณฑ์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2558-2559 กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต คุณภาพการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู พฤติกรรมการใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างและประชากร ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 ประกอบด้วยนักเรียนกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยเลือกนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนได้กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2558 จำนวน 35 คน และปีการศึกษา 2559 จำนวน 31 คน เนื่องจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกคนสามารถอ่านออกเขียนได้ และสื่อความหมายได้ดีกว่านักเรียนชั้นอื่น ๆ ครูศึกษาจากประชากรครูที่ปฏิบัติหน้าที่ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้ผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2558 จำนวน 35 คน และปีการศึกษา 2559 จำนวน 31 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยยกเว้นผู้บริหาร และผู้แทนครู ได้กลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2557 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทุกฉบับได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง 0.83-0.92
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม โครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน โรงเรียนวัดไพรสณฑ์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2558-2559 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ความคิดเห็นของครู ปีการศึกษา 2558 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, =.12) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา2559 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, =.15) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2558โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.19, S.D.=.16) ผ่านเกณฑ์ การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2559 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D.=.13) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน โรงเรียนวัดไพรสณฑ์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา การศึกษา 2558-2559 ตามความคิดเห็นของครู ปีการศึกษา 2558 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.89, =.20) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2559 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.06, =.22) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน โรงเรียนวัดไพรสณฑ์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2558-2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียน ปีการศึกษา 2558 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.74, S.D.=.12) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2559 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.24, S.D.=.13) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ความคิดเห็นของครู ปีการศึกษา 2558 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.95, =.13) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2559 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.45, =.08) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ความคิดเห็นของผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2558 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =3.74, S.D.=.13) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2559 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.26, S.D. =.13) ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน โรงเรียนวัดไพรสณฑ์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2558-2559 ได้แก่
4.1 ผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้โครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน โรงเรียนวัดไพรสณฑ์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2558-2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียนครู และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2558 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก ( = 4.14, S.D. = .14) รองลงมา ครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, = .21) ทุกกลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2559 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, = .19)รองลงมา ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.49, S.D. = .13) ทุกกลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูโครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน โรงเรียนวัดไพรสณฑ์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2558-2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียนครู และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2558โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า นักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก ( = 3.98, S.D. = .19) รองลงมา ครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.94, = .14) ทุกกลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2559 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก ( = 4.44, =.17) รองลงมา ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D. =.15) ทุกกลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนโครงการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน โรงเรียนวัดไพรสณฑ์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2558-2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียนครู และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2558 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก ( = 3.89, =.14) รองลงมา นักเรียน และผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =3.85, S.D.=.18) ทุกกลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2559 โดยรวมทุกกลุ่ม ที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ใน ระดับมาก ( = 4.19, =.25)รองลงมา ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.12, S.D. = .19) ทุกกลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน โรงเรียนวัดไพรสณฑ์ จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2558-2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2558 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่าผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก ( = 4.00, S.D. = .17) รองลงมา ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.91, S.D. = .16,.21) ทุกกลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน ปีการศึกษา 2559 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = .15)รองลงมา ครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.49, = .14)ทุกกลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดไพรสณฑ์ จังหวัดตรัง เพราะจะทำให้รู้ทิศทางของการพัฒนาในแต่ละด้านเกิดความคล่องตัวในการประสานงานทุก ๆ ฝ่าย และจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
2. โรงเรียนอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนที่มีขนาดและบริบทที่ใกล้เคียงกันควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนเพราะจะทำให้โรงเรียนเกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้แก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ๆ ได้รับทราบและเผยแพร่ผลจากการดำเนินงานของโครงการให้ผู้เกี่ยวข้องด้านการศึกษาได้รับทราบและให้การสนับสนุน
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการระดับองค์รวมของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของซิปป์ (CIPP Model)
2. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียนทุกโครงการโดยรูปแบบการประเมินที่เหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์