บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนบ้านสันต้นผึ้ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ผู้รายงาน นายมานพ เลี่ยมสุวรรณ
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสันต้นผึ้ง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
ปีการศึกษา 2559
รายงานผลการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านสันต้นผึ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และเพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านสันต้นผึ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 2 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
1. ผลการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านสันต้นผึ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2559 ทั้ง 5 กิจกรรม คือการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา และการส่งต่อ สรุปได้ ดังนี้
1.1 ผลการดำเนินการด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2559 นักเรียนโรงเรียนบ้านสันต้นผึ้ง ได้รับการสำรวจโดยการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนและเก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการออกเยี่ยมบ้านตามเครื่องมือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 100
1.2 ผลการประเมินพฤติกรรมนักเรียนโดยนักเรียนประเมินตนเอง โดยรวมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 100 เมื่อพิจารณาเป็นรายชั้นเรียน พบว่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 100
1.3 ผลการประเมินพฤติกรรมนักเรียนโดยครูประจำชั้น โดยรวมนักเรียน ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 100 เมื่อพิจารณาเป็นรายชั้นเรียน พบว่า ชั้นอนุบาล 1 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นอนุบาล 2 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 100
1.4 ผลการประเมินพฤติกรรมนักเรียนโดยผู้ปกครองนักเรียนประเมินโดยรวมนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 100 เมื่อพิจารณาเป็นรายชั้นเรียน พบว่า ชั้นอนุบาล 1 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นอนุบาล 2 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นกลุ่มปกติ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 100
1.5 ผลการประเมินความฉลาดทางอารมณ์นักเรียน โดยรวมนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นนักเรียนกลุ่มปานกลาง (ปกติ) จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 100 เมื่อพิจารณาเป็นรายชั้นเรียน พบว่า ชั้นอนุบาล 1 เป็นกลุ่มปานกลาง (ปกติ) จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นอนุบาล 2 เป็นกลุ่มปานกลาง (ปกติ)จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นกลุ่มปานกลาง (ปกติ) จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นกลุ่มปานกลาง (ปกติ) จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นกลุ่มปานกลาง (ปกติ) จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นกลุ่มปานกลาง (ปกติ) จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นกลุ่มปานกลาง (ปกติ) จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นกลุ่มปานกลาง (ปกติ) จำนวน 5 คน คิดเป็น ร้อยละ 100
1.6 ผลการคัดกรองนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการคุ้มครอง ด้านยาเสพติด ด้านเพศ ด้านความปลอดภัย เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 100
1.7 ผลการคัดกรองนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการคุ้มครอง ด้านยาเสพติด ด้านเพศ ด้านความปลอดภัย เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 100
1.8 ผลการคัดกรองนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการคุ้มครอง ด้านยาเสพติด ด้านเพศ ด้านความปลอดภัย เป็นนักเรียนกลุ่มปกติจำนนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 100
1.9 ผลการคัดกรองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการคุ้มครอง ด้านยาเสพติด ด้านเพศ ด้านความปลอดภัย เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 100
1.10 ผลการคัดกรองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการคุ้มครอง ด้านยาเสพติด ด้านเพศ ด้านความปลอดภัย เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 100
1.11 ผลการคัดกรองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการคุ้มครอง ด้านยาเสพติด ด้านเพศ ด้านความปลอดภัย เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 100
1.12 ผลการคัดกรองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการคุ้มครอง ด้านยาเสพติด ด้านเพศ ด้านความปลอดภัย เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 100
1.13 ผลการคัดกรองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการคุ้มครอง ด้านยาเสพติด ด้านเพศ ด้านความปลอดภัย เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 100
1.14 ผลการคัดกรองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการคุ้มครอง ด้านยาเสพติด ด้านเพศ ด้านความปลอดภัย เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 100
1.15 ผลการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่โรงเรียนดำเนินการ มีดังนี้ การจัดกิจกรรมโฮมรูม จำนวนนักเรียนร่วมกิจกรรม 39 คน คิดเป็นร้อยละ100 การประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน 2 ครั้ง จำนวนผู้ปกครองเข้าร่วม 39 คน คิดเป็นร้อยละ 100 การจัดกิจกรรมเสริมทักษะการดำรงชีวิต กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และโครงการพิเศษต่างๆ ประกอบด้วยกิจกรรมแนะแนว จำนวนนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 26 คน คิดเป็นร้อยละ 100 การนำนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าร่วมกิจกรรมเดินทางไกลลูกเสือ-เนตรนารี จำนวนนักเรียนร่วมกิจกรรม 26 คน คิดเป็นร้อยละ 100 การนำนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาการ จำนวนนักเรียนร่วมกิจกรรม 16 คน คิดเป็นร้อยละ 41.03 การนำนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไปทัศนศึกษา จำนวนนักเรียนร่วมกิจกรรม 39 คน คิดเป็นร้อยละ 100 การนำนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้ารับการอบรมคุณธรรม จริยธรรม จำนวนนักเรียนร่วมกิจกรรม 26 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมจากผู้นำศาสนา จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 100 การนำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันกีฬาระดับกลุ่มโรงเรียนตำบลม่วงคำ จำนวนนักเรียนร่วมกิจกรรม 39 คน คิดเป็นร้อยละ 100
1.16 ผลการดำเนินกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่โรงเรียนดำเนินการ ประกอบด้วย การอบรมให้ความรู้นักเรียนเพื่อป้องกันสารเสพติด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียนร่วมกิจกรรม 15 คน คิดเป็นร้อยละ 100 การประชุมผู้ปกครองนักเรียน 2 ครั้ง จำนวนผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรม 39 คน คิดเป็นร้อยละ 100 การจัดกิจกรรมซ่อมเสริมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียนร่วมกิจกรรม 26 คน คิดเป็นร้อยละ 100
1.17 ผลการดำเนินกิจกรรมการส่งต่อนักเรียนที่โรงเรียนได้ดำเนินการ มี ดังนี้ การส่งต่อนักเรียนที่เจ็บป่วย จำนวนนักเรียน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.56 การส่งต่อนักเรียนที่ได้รับอุบัติเหตุ จำนวนนักเรียน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 7.69
2. การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านสันต้นผึ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ผู้รายงานได้สรุปผล ดังนี้
2.1 ด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ( = 4.34 , = 0.67) เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60 , = 0.51)เป็นอันดับแรก รองลงมาคือวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53 , = 0.64) และอันดับสุดท้ายคือ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีนโยบายสนับสนุนให้ครู นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างชัดเจน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.87 , = 0.83) ตามลำดับ และผ่านเกณฑ์ทุกข้อ
2.2 ด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ( = 4.27, =0.76) เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า ผู้บริหารสนับสนุนและให้ความสำคัญโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.60 , = 0.51) เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ บุคลากร ในโรงเรียนให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานและมีการกำหนดติดตามผลอย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก( = 4.40 , = 0.74) และอันดับสุดท้ายคือ งบประมาณที่ได้รับจากโรงเรียนเพียงพอและเหมาะสมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ( = 3.93 , = 0.80) ตามลำดับ และผ่านเกณฑ์ ทุกข้อ
2.3 ด้านกระบวนการ พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ( = 4.42 , = 0.64) เมื่อพิจารณาแต่ละรายการพบว่า มีกระบวนการในการทำงานอย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60 , =0.57) เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสม่ำเสมอตามขั้นตอน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมากที่สุด ( = 4.52 , = 0.62) และอันดับสุดท้ายคือ มีการมอบหมายงาน/สั่งงานตรงตามสายงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.31 , = 0.60) ตามลำดับ และผ่านเกณฑ์ทุกข้อ
2.4 ด้านผลผลิต พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ( = 4.43, = 0.65) เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่าผู้บริหารครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ภาคภูมิใจต่อการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, = 0.64) เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57 , = 0.58) และอันดับสุดท้ายคือ การดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนบรรลุตามจุดประสงค์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.32 , = 0.68) ตามลำดับ และผ่านเกณฑ์ทุกข้อ