ชื่อเรื่อง รายงานการใช้ชุดเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการพูดและการเขียน
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้ศึกษา นางรัชนีวรรณ หลงลูวา
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการพูดและการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะการพูดและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการเรียนรู้ชุดเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการพูดและการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการพูดและการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประชาอุทิศ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 16 คนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ชุดเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการพูดและการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 9 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน แบบประเมินความสามารถก่อนและหลังการเรียนรู้ชุดเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการพูดและการเขียน จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าประสิทธิภาพ ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการพูดและการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.06/84.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะการพูดและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการเรียนด้วยชุดเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการพูดและการเขียน สูงขึ้นกว่าก่อนเรียน โดยก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.56 คิดเป็นร้อยละ 61.41 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 32.56 คิดเป็นร้อยละ 81.41 และมีคะแนนความก้าวหน้าเท่ากับ 8.00 คิดเป็นร้อยละ 20.00
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการพูดและการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก