ชื่อเรื่อง ผลการใช้ชุดฝึกทักษะการเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟเพาเวอร์พอยต์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านแหลมทราย)
สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา
ผู้วิจัย นายจิรายุส รักคง โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านแหลมทราย) ปี 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังโดยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟเพาเวอร์พอยต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการเรียนคอมพิวเตอร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะทางคอมพิวเตอร์เรื่องไมโครซอฟเพาเวอร์พอยต์ ระหว่างก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกทักษะการเรียนคอมพิวเตอร์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านแหลมทราย) สำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดฝึกทักษะการเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟเพาเวอร์พอยต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และแผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟเพาเวอร์พอยต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เวลาสอน 11 สัปดาห์ๆละ 2 ครั้งๆ ละ 50 นาที รวม 22 ครั้ง และประเมินผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องไมโครซอฟเพาเวอร์พอยต์ ก่อนและหลังการสอนโดยใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟเพาเวอร์พอยต์ และแบบประเมินทักษะทางคอมพิวเตอร์เรื่องไมโครซอฟเพาเวอร์พอยต์ ใช้แบบประเมินความพึงพอใจประเมินภายหลังการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความต่างของคะแนนเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดฝึกทักษะการเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟเพาเวอร์พอยต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟเพาเวอร์พอยต์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001 โดยคะแนนภายหลังการสอนสูงกว่าก่อนการสอน
3. ทักษะทางคอมพิวเตอร์เรื่องไมโครซอฟเพาเวอร์พอยต์ อยู่ในระดับ ดี
4. ความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟเพาเวอร์พอยต์ ภายหลังการสอนอยู่ในระดับ มากทีสุด