ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ผู้ศึกษาค้นคว้า นงนุช คุ้มปาน
ปีที่ทาการศึกษา ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พฒั นาแบบฝึ กทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิว
และปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75
2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3
ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ
3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึ กทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและ
ปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3/1 โรงเรียนโพธิธรรมสุวัฒน์ อาเภอโพทะเล
จังหวัดพิจิตร ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2559 จา นวน 1 ห้องเรียน จา นวนนักเรียน 40 คน กลุ่ม
ตัวอย่างได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ซึ่งใช้ห้องเรียนเป็ น
หน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึ กทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 จา นวน 7 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและ
ปริมาตร จา นวน 30 ข้อ แบบทดสอบหลังเรียน เล่มละ 10 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของ
นักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สถิตทิ ี่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
(X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. ) และการทดสอบค่าที ( t test แบบ dependent )
ผลการศึกษาพบว่า แบบฝึ กทักษะคณิ ตศาสตร์ เรื่ อง พื้นที่ผิวและปริ มาตร
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 มีประสิทธิภาพ ( 1 E / 2 E ) เท่ากับ 77.74 / 75.92 ซึ่งสูงกว่าประสิทธิภาพตาม
เกณฑ์มาตรฐาน 75/75 ที่ตั้งไว้ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึ ก
ทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึ กทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและ
ปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ อยู่ในระดับมาก