บทคัดย่อ
การพัฒนาทักษะการคิดสะท้อนอย่างมีวิจารณญาณด้วย
การส่งเสริมความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Developing Critical Thinking with Students Engagement
of High School Education
นางสุทธินันท์ บุญศักดิ์
การพัฒนาทักษะการคิดสะท้อนอย่างมีวิจารณญาณด้วยการส่งเสริมความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาทักษะการคิดสะท้อนอย่างมีวิจารญาณด้วยการส่งเสริมความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย พัฒนาทักษะการคิดสะท้อนอย่างมีวิจารญาณด้วยการส่งเสริมความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และศึกษาผลการการส่งเสริมความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 290 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 และกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสมเด็จ พระญาณสังวร ในพระสังฆราชูปถัมภ์ จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบวัดทักษะก่อนและหลังเรียนการคิดสะท้อนอย่างมีวิจารณญาณเป็นแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ .50-.68 ค่าอำนาจจำแนก .20-.56 และค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบทั้งฉบับ .84 แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบประเมินตนเอง และแบบประเมินความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษากระบวนการพัฒนาทักษะการคิดสะท้อนอย่างมีวิจารญาณด้วยการส่งเสริมความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย การบรรยายความรู้สึกและประสบการณ์ ด้วยการพูดและการบันทึกการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทั้งเดี่ยว กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ ประเมินและวิเคราะห์ประสบการณ์ การตรวจสอบ ปรับปรุง การสรุปแนวคิดหรือหาวิธีแก้ไขปัญหา การวางแผนการปฏิบัติหรือทดลองนำไปใช้ และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
2. ผลการพัฒนาทักษะการคิดสะท้อนอย่างมีวิจารญาณด้วยการส่งเสริมความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กระบวนการพัฒนาทักษะการคิดสะท้อนอย่างมีวิจารณญาณด้วยการส่งเสริมความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีประสิทธิภาพ 83.58/81.33 มีผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนได้เท่ากับ 14.49 แสดงว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีผลการประเมินทักษะการคิดสะท้อนอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังเรียนได้เท่ากับ 20.12 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของนักเรียนที่อยู่ในระดับดีที่เหลืออยู่ในระดับปรับปรุง
3. ผลการส่งเสริมความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายผลการประเมินความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนสูงขึ้น เมื่อคำนวณค่าที่ ของผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนได้เท่ากับ 18.82