ชื่อผลงาน : รายงานการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำคล้องจองพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา : นายชัชวาล ลักษณะ
ปีที่ศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ การอ่านและเขียนคำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน ศรีเวียงสาวิทยาคาร อำเภอเวียงสา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรีเวียงสาวิทยาคาร อำเภอเวียงสา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1
และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนศรีเวียงสาวิทยาคาร อำเภอเวียงสา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรีเวียงสาวิทยาคาร อำเภอเวียงสา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 26 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selecting) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำคล้องจอง จำนวน 4 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน และแบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการทดสอบที (t- test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. การสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำคล้องจอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรีเวียงสาวิทยาคาร อำเภอเวียงสา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 พบว่า ค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ เท่ากับ 89.42/86.35
2. การวิเคราะห์ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำคล้องจอง พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำคล้องจอง โดยภาพรวม มีระดับความ พึงพอใจระดับ มากที่สุด (m= 4.95,s=1.47)