ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้รายงาน พงศ์ศิริ วงศ์สวัสดิ์
สถานศึกษา โรงเรียนวัดสวนขัน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบทักษะวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังใช้แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนก่อนและหลังใช้แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดสวนขัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะ จำนวน 5 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1 ฉบับ จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 แบบทดสอบทักษะวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน 1 ฉบับ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1) แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 เล่ม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.86/84.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน หลังใช้แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
43. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยรวม ( ) เท่ากับ 4.56 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.56 เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การพิจารณาระดับความพึงพอใจ พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด