ชื่อเรื่อง ผลของการสร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่
สาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕ปีที่วิจัย ๒๕๕๙
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่พัฒนาขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด ๓) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๔) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๒๖ คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ใช้แบบแผนการวิจัย One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ๑) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่ ๒) แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๙ ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๑ ๔) แบบประเมินความพึงพอใจ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๓ การเก็บข้อมูล ได้จากการหาประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ การหาคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนและศึกษาความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแตกต่าง t-test (Dependent Sample) โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ประเด็นเชิงเนื้อหาในข้อค้นพบ พร้อมนำเสนอประกอบเป็นความเรียง
ผลการศึกษาพบว่า
๑. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่สร้างและพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๓.๐๔/๘๒.๓๑ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้
๒. คุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างและพัฒนาขึ้น ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นโดยรวม
อยู่ในระดับ เหมาะสมมากที่สุด (X = ๔.๗๔, S.D. = ๐.๓๒)
๓. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๔. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจ
มากที่สุด (X = ๔.๗๐, S.D. = ๐.๔๖)