ชื่อเรื่อง : รายงานการส่งเสริมทักษะด้านการฟังและการพูด โดยจัดกิจกรรม
เสริมประสบการณ์จากหนังสือนิทานเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการฟังและการพูด
ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้รายงาน : วาสนา บุญมี
โรงเรียน : บ้านหลักด่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2
ปีที่รายงาน : 2559
บทคัดย่อ
รายงานการส่งเสริมทักษะด้านการฟังและการพูด โดยจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์
จากหนังสือนิทานเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังจัดประสบการณ์จากหนังสือนิทานเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการฟังและการพูดของ เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุ 5-6 ปี โรงเรียนบ้านหลักด่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากเป็น เด็กปฐมวัยในห้องเรียนที่ผู้รายงานได้รับมอบหมายให้เป็นครูประจำชั้น ซึ่งมีเด็กปฐมวัย อายุ 5 ปี จำนวน 22 คน แบ่งเป็นเด็กชาย จำนวน 11 คน และเด็กหญิง จำนวน 11 คน ใช้เวลาทำการศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2559 ถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 จำนวน 12 สัปดาห์ๆ ละ 5 วัน รวมทั้งสิ้น 60 วัน โดยจัดประสบการณ์ในช่วงเวลาการจัดกิจกรรม เสริมประสบการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) หนังสือนิทานเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการฟัง และการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 12 เล่มๆ ละ 1 เรื่อง รวม 12 เล่ม 2) แผนการจัดประสบการณ์จากหนังสือนิทานเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 และ 3) แบบประเมินความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 รูปแบบการทดลองเป็นแบบกลุ่มเดียว One-Group Pretest -Posttest Design ทดสอบก่อนและหลังจัดประสบการณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้ค่าแจกแจง t-test แบบ Dependent Samples
ผลการศึกษา
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์จากหนังสือนิทานเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการฟัง และการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่า มีความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูด หลังจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยก่อนจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ย (X-) เท่ากับ 1.67 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.86 และหลังจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ย (X- ) เท่ากับ 4.23 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.57 ซึ่งสามารถแยกเป็นรายด้านได้ ดังนี้
1.1 ความสามารถทางภาษาด้านการฟังของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ย (X-) เท่ากับ 1.55 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.91 และหลังจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ย (X-) เท่ากับ 4.23 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.61
1.2 ความสามารถทางภาษาด้านการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ย (X-) เท่ากับ 1.82 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.80 และหลังจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ย (X-) เท่ากับ 4.23 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.53