ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการยกระดับการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 1 “บุรีราษฎ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการยกระดับการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 1 “บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา” 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการยกระดับการศึกษา3) ดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการยกระดับการศึกษาและ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการยกระดับการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูจำนวน 14 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 15คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 92 และนักเรียนจำนวน 92 คน รวมทั้งสิ้น 213 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมินความพึงพอใจ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการยกระดับการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 1 “บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา”ปรากฏว่าโรงเรียนได้จัดให้มีการสร้างความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษายังไม่พบร่องรอยชัดเจนด้านเอกสารหลักฐานและการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องอีกทั้งชุมชนยังขาดความตระหนักในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม ควรมีการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาต่อไป

2. การออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการยกระดับการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 1 “บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา”รูปแบบและวิธีการที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า PARM Model นำไปดำเนินการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา ปรากฏว่า มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้

3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการยกระดับการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 1 “บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา”ได้มีการนำรูปแบบการประชุมปรึกษาหารือไปใช้ในการดำเนินงานให้แก่ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนผลการทดลองใช้อยู่ในระดับมาก ( = 4.23) ผลการพัฒนาอยู่ในระดับมาก ( = 4.27) และผลการเปรียบเทียบการทดลองก่อน – หลังการพัฒนา ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. การประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการยกระดับการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 1 “บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา”ปรากฏว่า ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.09)

คำหลัก :การพัฒนารูปแบบ, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การยกระดับการศึกษา

Abstract

The purposes of this research were; 1) to study the basic information on the development of a community participatory administration model to improve the education in Tessaban 1 “Burirat Darunwittaya” School, 2) to design and develop a community participatory administration model to improve the education, 3) to perform a trial of the community participatory administration model to improve the education and 4) to evaluate the satisfaction and revise the development of the community participatory administration model to improve the education. The sample group of 213 people consisting of 14 teachers, 15 school board members, 92 students and 92 guardians were chosen by simple random sampling. The tools used for the research were questionnaire, satisfaction survey form and group discussion. The data was analyzed by percentage, mean and standard deviation. The statistical methods used were dependent T-test and content analysis.

The result of the research is the following:

1. On the study of basic information on the development of a community participatory administration model to improve the education of Tessaban 1 “Burirat Darunwittaya School", it appeared that the school had cooperated with the community in the education development but there was no apparent evidence on documentation or interviews with relevant persons. The community also lacked awareness in the direct and indirect participation in education. There should be further development of community participation in education.

2. On the design and development of the community participatory administration model to improve education in Tessaban 1 "Burirat Darunwittaya” School, the model and method were developed under the name of PARM Model. It was used to engage community participation in the educational administration and deemed appropriate and feasible.

3. For the trial of community participatory administration model to improve the education of Tessaban 1 "Burirat Darunwittaya” School, the meeting and consultation format was used by the teachers, school board members and students. The trial result was at the high level ( = 4.23), the development result was at the high level ( = 4.27) and the comparison of the trial before and after the development was not significantly different with statistical significance of .05 level.

4. For the evaluation of satisfaction and improvement of the community participatory administration model to improve the education of Tessaban 1 "Burirat Darunwittaya" School, it appeared that the teachers, school board members and students were satisfied in general at the high level ( = 4.09).

Keywords :Development, Community Participatory Management,Improve Educational

1ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 “บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา”อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บทนำ

บทบาทหน้าที่และการมีส่วนร่วมในการบริหารงานในสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกันย่อมมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันไป โดยมีงานวิจัยหลายชิ้นที่สนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้ วันชัย อารีราษฎร์ (2550 : 105-122) วิจัยเรื่อง การดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเจตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 1 พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีระดับการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่รายด้านอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน และผลการเปรียบเทียบระดับการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระหว่างสถานศึกษาขนาดเล็กและสถานศึกษาขนาดใหญ่พบว่าพบว่าแตกต่างกัน ในส่วนข้อเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานควรมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน วางแผนและเสนอขอเพิ่มอัตรากำลังครูและส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษา เสนอแนะและตรวจสอบผลการจ่ายงบประมาณของสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษาจากทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ชัชวาล ศิริกุล (2551 : 117-121) ที่ศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในกระบวนการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า การมีบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและขนาดของสถานศึกษาส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา

สถานศึกษาเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการปฏิรูปการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องจึงกำหนดให้มีคณะกรรมการซึ่งเป็นองค์คณะบุคคล ทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายมาตรฐานในการบริหารจัดการทางการศึกษาทั้งนี้ การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จได้นั้นสถานศึกษาและคณะกรรมการต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ของกันและกันควรมีรูปแบบวิธีการทำงานที่ประสานสอดคล้องกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาการศึกษาให้บรรลุผลตามที่ร่วมกันกำหนดขึ้นจึงได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมความเข้มแข็งในชุมชน และสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันอื่นๆ ในชุมชนและท้องถิ่นไว้ดังนี้คือให้ความเห็นข้อเสนอแนะ และให้คำปรึกษาในการส่งเสริมความเข้มแข็งในชุมชนและสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันอื่นๆในชุมชนและท้องถิ่น (สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2547 : 16)

โรงเรียนเทศบาล 1“บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา”สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์เปิดเรียนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2466ได้เปิดทำการสอนในระดับชั้นปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายปัจจุบันมีบุคลากรจำนวน 80 คน รวมทั้งผู้บริหารและมีนักเรียนจำนวน 2,552 คน จากผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่ 3พ.ศ. 2554– 2558 มาตรฐานที่ต้องได้รับการพัฒนาในด้านคุณภาพผู้เรียนได้แก่ความสามารถในการคิดเป็นทำเป็นแก้ปัญหาเป็นผลสัมฤทธิ์ตามหลักสูตรการใฝ่รู้ใฝ่เรียนรักการเรียนรู้และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ด้านผู้บริหารได้แก่การพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนการบริหารจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในด้านครูผู้สอนได้แก่ความสามารถของครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเช่นเดียวกัน จากผลการประเมินภายนอกรอบ 3นำไปสู่แนวโน้มของการประเมิน รอบ 4ในส่วนของสถานศึกษา ก็จะต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์เป้าหมายความต้องการและงบประมาณให้สอดคล้องกับนโยบายของประเทศนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดและงบประมาณที่ได้รับโดยจะต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและมีการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพและท้ายสุดคือสมศ. ทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบมาตรฐานและเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกในรอบที่สี่ (พ.ศ. 2559 –2563) ที่เชื่อมโยงและสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561) กฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษาพ.ศ. 2553 การดำเนินการประเมินคุณภาพภายนอกที่เชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพภายในอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ผลประเมินที่ถูกต้องและนำผลประเมินไปสู่การกำหนดนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลที่ต้องการเร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการในทุกระดับการศึกษาและในชุมชนโดยใช้พื้นที่และโรงเรียนเป็นฐานในการบูรณาการทุกมิติและยึดเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นหลักในการยกระดับคุณภาพโรงเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานรวมทั้งเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชนโดยเชื่อมโยงบทบาทสถาบันครอบครัวสถาบันการศึกษาและสถาบันทางศาสนาและจากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาพบว่าปัญหาและจุดอ่อนในการจัดการศึกษาหลายด้านและด้านที่ต้องมีการปรับปรุงและแก้ไขโดยรีบด่วนเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชนคือชุมชนยังขาดความตระหนักในการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดกิจกรรมและการจัดการศึกษาโดยชุมชนขาดความตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนเองในการเข้ามามีส่วนร่วมเท่าที่ควรโดยเฉพาะในด้านการเป็นองค์คณะบุคคลที่จะทำหน้าที่เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชนให้เกิดความร่วมมือที่ดีต่อกันและจากการประเมินตนเองของโรงเรียนพบว่าด้านการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างโรงเรียนผู้ปกครองชุมชนองค์กรภาครัฐและเอกชน ในการจัดการและพัฒนาการศึกษาอยู่ในเกณฑ์คุณภาพระดับพอใช้ถึงแม้ว่าชุมชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาแต่ก็อยู่ในระดับค่อนข้างน้อย และยังมีส่วนร่วมในการสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้น้อยอีกด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปรุงแหล่งเรียนรู้เช่นห้องคอมพิวเตอร์เป็นต้นและได้พบปัญหาอีกว่า โรงเรียนได้จัดให้มีการสร้างความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา ยังไม่พบร่องรอยชัดเจนด้านเอกสารหลักฐานและการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องอีกทั้งชุมชน ยังขาดความตระหนักในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยทางตรงยังขาดความตระหนักในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในลักษณะต่างๆเช่นการบริจาทรัพย์สินสำหรับปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนและอื่นๆที่มีส่วนในการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนขาดความตระหนักในการมีส่วนร่วมทางตรงเช่นการเป็นวิทยากรให้การอบรมการให้ความร่วมมือในการศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ภายในท้องถิ่นที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ ในการร่วมจัดการศึกษาให้แก่โรงเรียน เป็นต้น

จากสภาพปัจจุบันปัญหาดังกล่าวผู้ศึกษาในฐานะผู้อำนวยการสถานศึกษาซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาและมองเห็นความสำคัญของการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่จะต้องมีการดำเนินการเพื่อให้ชุมชนได้เกิดความตระหนักในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาร่วมกันของโรงเรียนกับชุมชนจึงได้ดำเนินการศึกษาการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการยกระดับการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 1 “บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา”เพื่อนำข้อสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โพสต์โดย ปรีชา : [21 ธ.ค. 2560 เวลา 12:47 น.]
อ่าน [5457] ไอพี : 183.88.43.178
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 104,360 ครั้ง
ดาวน์โหลดโปรแกรม ปพ.1 ใหม่ 2556 (Excel)
ดาวน์โหลดโปรแกรม ปพ.1 ใหม่ 2556 (Excel)

เปิดอ่าน 41,899 ครั้ง
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันเกิด

เปิดอ่าน 13,816 ครั้ง
คลิปสาธิตวิธีการทำแจกันหลอดไฟ
คลิปสาธิตวิธีการทำแจกันหลอดไฟ

เปิดอ่าน 10,413 ครั้ง
มาดูกันว่า "เกาหลีใต้" เริ่มต้นการเป็นผู้นำด้านการศึกษาโฉมใหม่ของโลกอย่างไร?
มาดูกันว่า "เกาหลีใต้" เริ่มต้นการเป็นผู้นำด้านการศึกษาโฉมใหม่ของโลกอย่างไร?

เปิดอ่าน 16,770 ครั้ง
นางสงกรานต์ปี 2558 ชื่อ "รากษสเทวี"
นางสงกรานต์ปี 2558 ชื่อ "รากษสเทวี"

เปิดอ่าน 3,733 ครั้ง
คนกินเค็มต้องระวัง "โซเดียมในเลือดสูง"
คนกินเค็มต้องระวัง "โซเดียมในเลือดสูง"

เปิดอ่าน 26,394 ครั้ง
วิธีลดต้นขา แบบญี่ปุ่น ง่ายๆ ไม่เสียตังค์
วิธีลดต้นขา แบบญี่ปุ่น ง่ายๆ ไม่เสียตังค์

เปิดอ่าน 11,977 ครั้ง
กระบวนการในการใช้หนังสือเพื่อการพัฒนาเด็กวัย 0-3 ปี
กระบวนการในการใช้หนังสือเพื่อการพัฒนาเด็กวัย 0-3 ปี

เปิดอ่าน 26,039 ครั้ง
รอบรู้เรื่องการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย
รอบรู้เรื่องการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย

เปิดอ่าน 24,549 ครั้ง
ผักแว่น...ผักพื้นบ้านแต่มีคุณค่า
ผักแว่น...ผักพื้นบ้านแต่มีคุณค่า

เปิดอ่าน 48,168 ครั้ง
คุณสมบัติของรัฐมนตรี
คุณสมบัติของรัฐมนตรี

เปิดอ่าน 24,918 ครั้ง
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

เปิดอ่าน 17,573 ครั้ง
เลือกหมอนให้นอนหลับสบาย
เลือกหมอนให้นอนหลับสบาย

เปิดอ่าน 32,253 ครั้ง
กฎหมายน่ารู้ ตอน "ครูยึดโทรศัพท์นักเรียน มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์"
กฎหมายน่ารู้ ตอน "ครูยึดโทรศัพท์นักเรียน มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์"

เปิดอ่าน 20,310 ครั้ง
อริยสัจ 4
อริยสัจ 4

เปิดอ่าน 20,311 ครั้ง
หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายครู
หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายครู
เปิดอ่าน 21,880 ครั้ง
ประโยชน์ของ "เปลือกกล้วย" ที่คุณอาจไม่รู้
ประโยชน์ของ "เปลือกกล้วย" ที่คุณอาจไม่รู้
เปิดอ่าน 37,370 ครั้ง
พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา
พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา
เปิดอ่าน 17,099 ครั้ง
5 สมุนไพรเพื่อวัยสูงอายุ
5 สมุนไพรเพื่อวัยสูงอายุ
เปิดอ่าน 14,619 ครั้ง
PowerPoint ชี้แจงตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
PowerPoint ชี้แจงตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ