ผู้รายงาน นางสาวชฎาพร เสนเผือก
ปีที่รายงาน 2560
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียน
วัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 ในครั้งนี้ดำเนินการโดยใช้รูปแบบการประเมิน แบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์
ของการประเมินเพื่อประเมินความพร้อมด้านสภาพแวดล้อม ของโครงการ (Context Evaluation) เพื่อประเมินความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ (Input Evaluation) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ (Process Evaluation) และเพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Random Sampling) จำนวนทั้งสิ้น 60 คน ประกอบด้วย ข้าราชการครูโรงเรียน
วัดปากจ่า ที่ไม่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ปีการศึกษา 2559 จำนวน 3 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 25 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 25 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ไม่ดำรงตำแหน่งผู้แทนครูและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามประเภทมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีจำนวนทั้งสิ้น 7 ฉบับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ .8359-.9163 และ แบบประเมินประเมินตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 2 จำนวนทั้งสิ้น 1 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินปรากฏ ดังนี้
ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม
โรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 สรุปได้ว่าโดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52, S.D.= .52) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ คุณภาพในการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.56, S.D.= .49) รองลงมาคือ ด้านผลผลิตของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.55, S.D.= .56) และอันดับสุดท้าย คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ อยู่ในระดับมาก ( =4.43, S.D.= .53) ตามลำดับและเมื่อพิจารณาประเด็น
การประเมินทั้ง 4 ประเด็น รวม 22 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.53, S.D.= .42) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับแรก คือ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.58, S.D.= .49) อันดับรองลงมา คือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ และความ
เป็นไปได้ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.57, S.D.= .52) และ( =4.57, S.D.= .51) และอันดับสุดท้าย คือ ความสอดคล้องด้านนโยบาย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.40, S.D.= .59) ตามลำดับ
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์ การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.43, S.D.= .53) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับแรก คือ การบริหารจัดการ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.76, S.D.= .41) รองลงมา คือ วัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.67, S.D.= .58) และอันดับสุดท้าย คือ ความเพียงพอของงบประมาณ อยู่ในระดับมาก ( =3.92, S.D.= .58) ตามลำดับ
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.56, S.D.= .49) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับแรก คือ การวางแผนโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62, S.D.= .44) รองลงมา คือ การดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.61, S.D.= .48)
และอันดับสุดท้าย คือ การนำผลไปปรับปรุงและพัฒนา อยู่ในระดับมาก ( =4.44, S.D.= .44) ตามลำดับ
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 โดยประเมิน 5 ประเด็น มีรายละเอียด ดังนี้
4.1 ผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม นักเรียน ตามคุณธรรมเป้าหมาย 6 ประการของโรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.51, S.D.= .62) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผลการพัฒนาคุณธรรมเป้าหมาย อันดับแรก คือ ด้านความสามัคคีอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.61, S.D.= .48) อันดับรองลงมา คือ ด้านความมีน้ำใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.58, S.D.= .52) และ ผลการพัฒนาคุณธรรมเป้าหมาย ที่อยู่อันดับต่ำสุด คือ ด้านความสุภาพ อยู่ในระดับมาก ( =4.31, S.D.= .71) ตามลำดับ
4.2 ระดับความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินงานของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, S.D.= .50) เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด พบว่าความพึงพอใจอันดับแรก คือ การจัดทำโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม ทำได้อย่างเป็นระบบ ครบทุกขั้นตอน การจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน การร่วมมือ ระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ในการจัดการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.80, S.D.= .42) อันดับรองลงมา คือ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.70, S.D.= .48) และอันดับ สุดท้าย คือ การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และเสริมแรง อยู่ในระดับมาก ( =4.20, S.D.= .79) ตามลำดับ
4.3 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินงานของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52, S.D.= .60) เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด พบว่า ความพึงพอใจอันดับแรก คือ นักเรียนแต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะ และกฎระเบียบของโรงเรียน และนักเรียนเก็บและทิ้งขยะลงในถังที่จัดวางไว้ทุกครั้ง อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.64, S.D.= .64) อันดับรอง
ลงมา คือ นักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน และเมื่อนักเรียนเก็บของได้ จะเก็บคืนให้เจ้าของอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, S.D.= .59)
ส่วนอันดับสุดท้าย คือ นักเรียนไม่กล่าวโทษผู้อื่น เพื่อให้ตนพ้นผิดอยู่ในระดับมาก ( =4.32, S.D.= .69) ตามลำดับ
4.4 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินงานของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.57, S.D.= .53) เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด พบว่า ความพึงพอใจอันดับแรก คือ การรู้จักออมเงินที่เหลือจ่าย และรู้จักจ่ายอย่างประหยัด และนักเรียนช่วยเหลืองานพ่อแม่โดยไม่ต้องเตือน อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.72, S.D.= .46) อันดับรองลงมา คือ การตั้งใจเรียนของนักเรียน และนักเรียนเข้าวัดทำบุญตักบาตรฟังธรรมะในวันพระ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, S.D.= .59) ส่วนอันดับสุดท้าย คือ การที่นักเรียนไม่ลอกการบ้านเพื่อน อยู่ในระดับมาก ( =4.28, S.D.= .68) ตามลำดับ
4.5 มาตรฐานคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในมาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ โดยภาพรวม พบว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม เพื่อพิจารณาเป็นตัวบ่งชี้ พบว่า ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 และตัวบ่งชี้ที่ 2.4 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม ส่วนตัวบ่งชี้ที่ 2.3 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ทุกตัวบ่งชี้ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. การดำเนินการโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ควรได้รับงบประมาณสนับสนุน ในการดำเนินงานจากหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง
2. หน่วยงานต้นสังกัด ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมสนับสนุนโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง เพราะถถือว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมให้เยาวชนพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โดยการเข้าร่วมโครงการ และกิจกรรมย่อยต่าง ๆ ต้องมีการปฏิบัติต่อเนื่องกันหลาย ๆปี
3. กิจกรรมต่าง ๆของโครงการ ควรมีการปรับให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและปัจจัยเบื้องต้นของสถานศึกษา เพื่อให้โครงการประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ให้มากที่สุด
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม ของสถานศึกษาให้ต่อเนื่องจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างจริงจัง
2. นำผลการประเมินโครงการที่ได้ เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจปรับปรุง แก้ไขในด้านต่าง ๆ ที่ได้ค้นพบ โดยส่งเสริมกิจกรรมที่โรงเรียนสามารถทำได้ดีให้ดียิ่งขึ้นไปและปรับปรุงกิจกรรมที่พบว่ามีผลการประเมินในระดับต่ำ