ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2559
ผู้รายงาน นางปิยพร ถาวะราภรณ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2559
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2559
ผู้รายงาน นางปิยพร ถาวะราภรณ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2559
การประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2559 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการดำเนินงาน และประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน มีวิธีการประเมินโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้นกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ใช้กลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2559 ประกอบด้วย ครู จำนวน 66 คน นักเรียน จำนวน 310 คน ผู้ปกครอง จำนวน 310 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถาม ที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (RatingScale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 5 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.83 - 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows Version 17.0 ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2559 ด้านสภาพแวดล้อม ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.44, S.D. = 0.13) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดความสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.62, S.D. = 0.42) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน รองลงมา คือ ตัวชี้วัดความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ ( = 4.46, S.D. = 0.45) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดความเป็นไปได้ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.36, S.D. = 0.21) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 4 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2559 ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.59, S.D. = 0.33) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.77, S.D. = 0.46) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ตัวชี้วัดความพร้อมของบุคลากร ( = 4.68, S.D. = 0.36) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ ( = 4.68, S.D. = 0.39) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนตัวชี้วัดวัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.42, S.D. = 0.69) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2559 ด้านกระบวนการ จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.51, S.D. = 0.32) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.58, S.D. = 0.35) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ตัวชี้วัดด้านการบริหารสถานศึกษา ( = 4.54, S.D. = 0.36) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.40, S.D. = 0.41) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า
3.1 ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.45, S.D = 0.34) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.52, S.D. = 0.40) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ตัวชี้วัดด้านการบริหารสถานศึกษา ( = 4.48, S.D. = 0.40) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.38, S.D. = 0.43) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3.2 ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.52, S.D. = 0.32) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.60, S.D. = 0.33) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ตัวชี้วัดด้านการบริหารสถานศึกษา ( = 4.55, S.D. = 0.35) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.39, S.D. = 0.42) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3.3 ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.52, S.D. = 0.31) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.57, S.D. = 0.35) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ตัวชี้วัดด้านการบริหารสถานศึกษา ( = 4.55, S.D. = 0.35) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.40, S.D. = 0.40) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2559 ด้านผลผลิต ได้แก่
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.37, S.D. = 0.32) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดคุณภาพการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.42, S.D. = 0.42) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ตัวชี้วัดคุณภาพผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ( = 4.41, S.D. = 0.40) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดคุณภาพการบริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.27, S.D. = 0.40) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า
4.1.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.54, S.D. = 0.37) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดคุณภาพการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.64, S.D. = 0.41) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ตัวชี้วัดคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ( = 4.62, S.D. = 0.43) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดคุณภาพการบริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.31, S.D. = 0.61) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามความคิดเห็นของนักเรียน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.25, S.D. = 0.32) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดคุณภาพผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.31, S.D. = 0.41) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ตัวชี้วัดคุณภาพการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ( = 4.28, S.D. = 0.43) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดคุณภาพการบริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.18, S.D. = 0.36) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.46 , S.D. = 0.27) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดคุณภาพการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.51, S.D. = 0.38) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ตัวชี้วัดคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ( = 4.48, S.D. = 0.45) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดคุณภาพผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ( = 4.48, S.D. = 0.35) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนตัวชี้วัดคุณภาพการบริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.35, S.D. = 0.36) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.46, S.D. = 0.21) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดคุณภาพผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.52, S.D. = 0.31) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ตัวชี้วัดคุณภาพการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ( = 4.51, S.D. = 0.35) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.31, S.D. = 0.33) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.39, S.D. = 0.46) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า
4.4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.49, S.D. = 0.44) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.42, S.D. = 0.46) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.34, S.D. = 0.46) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.39, S.D. = 0.21) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2559 ทั้ง 4 ด้าน จำนวน 20 ตัวชี้วัดหลัก คะแนนรวมเฉลี่ย 100 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIIP Model) ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 20 ตัวชี้วัด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 100 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2559 ไปใช้
1. ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ จากผลการประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก แต่การจัดทำโครงการโรงเรียนควรกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
2. ด้านด้านปัจจัยนำเข้า จากผลการประเมิน พบว่า ครู มีความเห็นเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แต่โรงเรียนควรสนับสนุน สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และอาคารสถานที่ ที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการให้มีความเหมาะสมและเพียงพอ
3. ด้านกระบวนการ จากผลการประเมิน พบว่า ครู นักเรียน และผู้ปกครอง มีความเห็นเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แต่ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ควรมีการติดตามและนำผลการติดตามมาพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบครบวงจรและต่อเนื่อง
4. ด้านผลผลิต จากผลการประเมิน พบว่า ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แต่คุณภาพการบริหารสถานศึกษา ควรมีการพัฒนาให้โรงเรียนสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย และเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น
จากการประเมินความพึงพอใจด้านผลผลิตของโครงการ มีความเห็นเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก แต่ควรมีการพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตรงตามนโยบายของโรงเรียนและตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะแนวทางในการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
ควรมีการวิจัยและพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง