ผู้รายงาน นางสาวชฎาพร เสนเผือก
ปีที่รายงาน 2560
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 ในครั้งนี้ดำเนินการโดยใช้รูปแบบการประเมิน แบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อประเมินความพร้อมด้านสภาพแวดล้อม ของโครงการ (Context Evaluation) เพื่อประเมินความพร้อมด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ (Input Evaluation) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ (Process Evaluation) และเพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Random Sampling) จำนวนทั้งสิ้น 60 คน ประกอบด้วย ข้าราชการครูโรงเรียนวัดปากจ่า ที่ไม่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ปีการศึกษา 2559 จำนวน 3 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 25 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 25 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ไม่ดำรงตำแหน่งผู้แทนครู และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามประเภทมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีจำนวนทั้งสิ้น 7 ฉบับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ .8359-.9163 และ แบบประเมินประเมินตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 2 จำนวน
ทั้งสิ้น 1 ฉบับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินปรากฏ ดังนี้
ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 สรุปได้ว่าโดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีผล การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52, S.D.= .52) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ คุณภาพในการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.56, S.D.= .49)
รองลงมาคือ ด้านผลผลิตของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.55, S.D.= .56) และอันดับสุดท้าย คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ อยู่ในระดับมาก ( =4.43, S.D.= .53) ตามลำดับ และ เมื่อพิจารณาประเด็น
การประเมินที่ 4 ประเด็น รวม 22 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
1. ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.53, S.D.= .42) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับแรก คือ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.58, S.D.= .49) อันดับรองลงมา คือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ และความเป็นไปได้ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.57, S.D.= .52) และ( =4.57, S.D.= .51) และอันดับสุดท้าย คือ ความสอดคล้องด้านนโยบาย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.40, S.D.= .59) ตามลำดับ
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์ การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.43, S.D.= .53) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับแรก คือ การบริหารจัดการ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.76, S.D.= .41) รองลงมา คือ วัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.67, S.D.= .58) และอันดับสุดท้าย คือ ความเพียงพอของงบประมาณ อยู่ในระดับมาก ( =3.92, S.D.= .58) ตามลำดับ
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.56, S.D.= .49) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับแรก คือ การวางแผนโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62, S.D.= .44) รองลงมา คือ การดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.61, S.D.= .48) และอันดับสุดท้าย คือ การนำผลไปปรับปรุงและพัฒนา อยู่ในระดับมาก ( =4.44, S.D.= .44) ตามลำดับ
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 โดยประเมิน 5 ประเด็น มีรายละเอียด ดังนี้
4.1 ผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม นักเรียน ตามคุณธรรมเป้าหมาย 6 ประการของโรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.51, S.D.= .62) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผลการพัฒนาคุณธรรมเป้าหมาย อันดับแรก คือ ด้านความสามัคคีอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.61, S.D.= .48) อันดับรองลงมา คือ ด้านความมีน้ำใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.58, S.D.= .52) และ ผลการพัฒนาคุณธรรมเป้าหมาย ที่อยู่อันดับต่ำสุด คือ ด้านความสุภาพ อยู่ในระดับมาก ( =4.31, S.D.= .71) ตามลำดับ
4.2 ระดับความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินงานของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, S.D.= .50) เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด พบว่าความพึงพอใจอันดับแรก คือ การจัดทำโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม ทำได้อย่างเป็นระบบ ครบทุกขั้นตอน การจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน การร่วมมือ ระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ในการจัดการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.80, S.D.= .42) อันดับรองลงมา คือ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.70, S.D.= .48) และอันดับ สุดท้าย คือ การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และเสริมแรง อยู่ในระดับมาก ( =4.20, S.D.= .79) ตามลำดับ
4.3 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินงานของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนวัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52, S.D.= .60) เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด พบว่า ความพึงพอใจอันดับแรก คือ นักเรียนแต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะ และกฎระเบียบของโรงเรียน และนักเรียนเก็บและทิ้งขยะลงในถังที่จัดวางไว้ทุกครั้ง อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.64, S.D.= .64) อันดับรองลงมา คือ นักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน และเมื่อนักเรียนเก็บของได้ จะเก็บคืนให้เจ้าของอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, S.D.= .59) ส่วนอันดับสุดท้าย คือ นักเรียนไม่กล่าวโทษผู้อื่น เพื่อให้ตนพ้นผิด อยู่ในระดับมาก ( =4.32, S.D.= .69) ตามลำดับ
4.4 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินงานของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรมโรงเรียน
วัดปากจ่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.57, S.D.= .53) เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด พบว่า ความพึงพอใจอันดับแรก คือ การรู้จักออมเงินที่เหลือจ่าย
และรู้จักจ่ายอย่างประหยัด และนักเรียนช่วยเหลืองานพ่อแม่โดยไม่ต้องเตือน อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.72, S.D.= .46) อันดับรองลงมา คือ การตั้งใจเรียนของนักเรียน และนักเรียนเข้าวัดทำบุญตักบาตรฟังธรรมะในวันพระ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, S.D.= .59) ส่วนอันดับสุดท้าย คือ การที่นักเรียนไม่ลอกการบ้านเพื่อน อยู่ในระดับมาก ( =4.28, S.D.= .68) ตามลำดับ
4.5 มาตรฐานคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในมาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ โดยภาพรวม พบว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม เพื่อพิจารณาเป็นตัวบ่งชี้ พบว่า ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 และตัวบ่งชี้ที่ 2.4 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม ส่วนตัวบ่งชี้ที่ 2.3 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ทุกตัวบ่งชี้ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. การดำเนินการโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ควรได้รับงบประมาณสนับสนุน ในการดำเนินงานจากหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง
2. หน่วยงานต้นสังกัด ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมสนับสนุนโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง เพราะถถือว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมให้เยาวชนพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โดยการเข้าร่วมโครงการ และกิจกรรมย่อยต่าง ๆ ต้องมีการปฏิบัติต่อเนื่องกันหลาย ๆปี
3. กิจกรรมต่าง ๆของโครงการ ควรมีการปรับให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและปัจจัยเบื้องต้นของสถานศึกษา เพื่อให้โครงการประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ให้มากที่สุด
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม ของสถานศึกษาให้ต่อเนื่องจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างจริงจัง
2. นำผลการประเมินโครงการที่ได้ เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจปรับปรุง แก้ไขในด้านต่าง ๆ ที่ได้ค้นพบ โดยส่งเสริมกิจกรรมที่โรงเรียนสามารถทำได้ดีให้ดียิ่งขึ้นไปและปรับปรุงกิจกรรมที่พบว่ามีผลการประเมินในระดับต่ำ