ชื่อเรื่อง รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ แรงและพลังงาน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังตง
ผู้ศึกษา รอดีย๊ะ เวชสิทธิ์
ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านวังตง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน
ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียน
ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังตง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ แรงและพลังงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ แรงและพลังงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 จำนวน 6 แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ แรงและพลังงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ แรงและพลังงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 โดยใช้แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรงของเครื่องมือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC) ค่าความยากง่าย
ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยใช้สูตร KR-20 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา และหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ แรงและพลังงาน โดยหาค่า E1 และ E2
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 83.89/82.17 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยเฉลี่ยร้อยละ 32.50
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ แรงและพลังงาน มีความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.52)