รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้
เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ขนิษฐา เนื้อไม้
บทคัดย่อ
รายงานการใช้ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนบ้านลานหิน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 12 คน เครื่องมือ ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้ ได้แก่ 1) E1/E2 2) ค่าที (t-test) และ 3) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S. D.)
ผลการรายงาน พบว่า
1. ผลการหาประสิทธิชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.14/81.55 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.80, S.D. = 0.40)
1. บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดไว้ว่า การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ (สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 2560 :14) สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่เป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารและการได้จัดการศึกษาได้ระบุ ด้านลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์คือ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข คุณลักษณะของการเป็นคนดี คนเก่งและมีความสุขนั้นเป็นเป้าหมายของการจัดการศึกษาในปัจจุบัน (กองวิจัยทางการศึกษา. 2543 : 7) และการที่นักเรียนจะมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านต่างๆ ได้นั้น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ให้แนวการจัดการศึกษาไว้ในหมวด 4 แนวการจัดการศึกษา ซึ่งมีสาระครอบคลุมหลักการสาระและกระบวนการจัดการศึกษาที่เปิดกว้างให้แนวทางในการมีส่วนร่วม สรรค์สร้างวิสัยทัศน์ใหม่ทางการเรียนการสอนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน ในมาตรา 22 ระบุว่า การศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2546: 215) ในส่วนของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้น ต้องให้เกิดทั้งความรู้ ทักษะกระบวนการ และเจตคติด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กล่าวถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ไว้ว่า วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจำวันและการงานอาชีพต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยี เครื่องมือเครื่องใช้และผลผลิตต่างๆ ที่มนุษย์ได้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน เหล่านี้ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่นๆ วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ที่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge based society) ดังนั้นทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ และมีคุณธรรม (กระทรวงศึกษาธิการ. 2546: 215)
วิทยาศาสตร์มีความสำคัญดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องวางรากฐานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้ทุกคนมีความรู้ความสนใจ ใฝ่เรียนรู้ และพร้อมรับข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง โดยจะมุ่งพัฒนาประเทศไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ อันเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจ ฐานความรู้ให้ชาวไทยทุกคนได้มีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะได้รับความรู้ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2546: 2) ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงได้เน้นกระบวนการที่นักเรียนเป็นผู้คิด ลงมือปฏิบัติ ศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยกิจกรรมที่หลากหลายทั้งการทำกิจกรรมภาคสนาม การสังเกต การสำรวจ ตรวจสอบ การทดลองในห้องปฏิบัติการ การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ การเรียนรู้ของนักเรียนจะเกิดขึ้นระหว่างที่นักเรียนมีส่วนร่วมโดยตรงในการทำกิจกรรมการเรียนเหล่านั้น จึงจะมีความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้พัฒนากระบวนการคิดขั้นสูง และคาดหวังว่ากระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว จะทำให้นักเรียนได้รับการพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านลานหิน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2557 มีผลการประเมินการทดสอบการศึกษาขั้นพื้นฐาน LAS (Local Assessment System) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม 100 คะแนน นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 39.32 ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 มีผลการประเมินโดยใช้ข้อสอบกลาง จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (สพฐ) คะแนนเต็ม 100 คะแนน นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 36.25 และ 29.10 คะแนนเฉลี่ยรวมทั้ง 3 ปีการศึกษา มีค่าเท่ากับ 34.89 ซึ่งผลคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม คะแนนต้องปรับปรุงเป็นจำนวนมาก สาเหตุเหล่านี้เป็นปัญหาในการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน
จากปัญหาดังกล่าวผู้รายงานได้ศึกษาแนวทางและเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ พบว่า การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นเทคนิควิธีการในการจูงใจให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเหมาะสมและให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542 : 5 ) กล่าวว่า การนำชุดกิจกรรมการเรียนการสอนไปใช้นั้นอาศัยแนวคิด หลักการ ตลอดจนทฤษฏีต่างๆ 5 ประการ ได้แก่ 1) แนวคิดตามหลักจิตวิทยาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยจัดให้ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ตามความสามารถและอัตราการเรียนรู้ของแต่ละคน 2) แนวคิดที่จะเปลี่ยนการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางมาเป็นแบบให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง โดยใช้สื่อประสมตรงตามเนื้อหาโดยมีครูเป็นผู้แนะนำ 3) แนวคิดที่จะจัดระบบการผลิตการใช้สื่อการสอนในรูปแบบของสื่อประสมโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงจากการใช้สื่อช่วยครูมาเป็นสื่อเพื่อช่วยนักเรียนในการเรียนรู้ 4) แนวคิดที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน และนักเรียนกับสภาพแวดล้อม โดยนำสื่อการสอนมาใช้ร่วมกับกระบวนการกลุ่มในการประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน 5) แนวคิดที่ยึดหลักจิตวิทยาการเรียนรู้มาจัดสภาพการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพโดยปรับสภาพการให้ผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเองและมีผลย้อนกลับทันทีว่าตอบถูกหรือตอบผิด มีการเสริมแรงทำให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจและต้องการที่จะเรียนต่อไป ได้เรียนรู้ทีละน้อยๆ ตามลำดับขั้นตามความสามารถและความสนใจของแต่ละคน ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน ได้แก่การนำชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ครูสร้างขึ้นมาอย่างเป็นระบบมีความสมบูรณ์และสอดคล้องกับเนื้อหาสาระตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ช่วยให้นักเรียนได้ศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในชุดกิจกรรมด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายของการเรียนรู้ มีกิจกรรมที่หลากหลายให้นักเรียนได้เรียนรู้ โดยครูคอยดูแลการทำกิจกรรมอย่างใกล้ชิด และใช้วิธีการสอนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนค้นหาความรู้ใหม่ผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเองจากการใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนค้นหาคำตอบในประเด็นที่กำหนด เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงและแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งมีกระบวนการ 5 ขั้นคือ ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) และขั้นประเมินผล (Evaluation) (สำลี รักสุทธิ และคณะ. 2544 : 9) ซึ่งจะช่วยพัฒนานักเรียนทั้งด้านความคิด การแก้ปัญหา การสื่อสาร การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี พร้อมทั้งส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของนักวิจัยหลายท่านที่ได้นำกระบวนการสืบเสาะหาความรู้มาพัฒนาชุดกิจกรรมขึ้น แล้วส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าดัชนีประสิทธิผลและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนสูงขึ้น อาทิ เช่น กัญจนา วิทย์ศลาพงศ์ (2554 : 105-107) และ จิรวนา เสงี่ยมศักดิ์ (2554 : 84-88) ได้ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของผู้เรียนหลังใช้สูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดัชนีประสิทธิผลหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 72.54 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 50 ขึ้นไป อีกทั้งผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ วีระพร ลาทอง (2555: 136-144) ได้วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ พบว่านักเรียนร้อยละ 82.61 ของนักเรียนทั้งหมด มีทักษะการคิดพื้นฐานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าว รวมทั้งผลการวิจัยต่างๆทำให้ผู้รายงานมีความสนใจที่จะพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มาทดลองใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ว22102) เนื่องจากเป็นหน่วยการเรียนรู้พื้นฐานในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งเนื้อหาประกอบด้วย ทฤษฏีเกี่ยวกับการเกิดโลก ส่วนประกอบของโลก ดิน หิน แร่และน้ำ การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก ซึ่งผู้รายงานเห็นว่าเป็นชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่มีความเหมาะสมและมีความจำเป็นต่อการเรียนรู้ ทำให้กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนเกิดประสิทธิภาพ และส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น
1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1.2.1 เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
1.2.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
1.2.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2. วิธีดำเนินการวิจัย
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
แหล่งข้อมูล
ผู้รายงานกำหนดแหล่งข้อมูล คือ นักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
1. นักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้ คือ
1.1 กลุ่มเป้าหมายสำหรับการทดสอบประสิทธิภาพแบบเดี่ยว ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวัดกัลปพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 3 คน
1.2 กลุ่มเป้าหมายสำหรับการทดสอบประสิทธิภาพแบบกลุ่มเล็ก ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านลานหิน จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 9 คน ซึ่งไม่ซ้ำกับกลุ่มเป้าหมายแบบเดี่ยว
1.3 กลุ่มเป้าหมายสำหรับการทดสอบประสิทธิภาพแบบภาคสนาม ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองปลิง (นาคอุปถัมภ์) อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 45 คน
เครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้ในการร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้แก่
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 ข้อ
3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ขั้นตอนที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย
1. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านลานหิน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จำนวน 12 คน
เครื่องมือที่
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ขั้นตอนการดำเนินการทดลอง
การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้รายงานได้ดำเนินการดังนี้
1. ทำการทดสอบก่อนเรียน (Pretest) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านลานหิน จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 12 คน ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ
2. ดำเนินการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านลานหิน จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 12 คน ตามแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน โดยให้นักเรียนใช้ชุดกิจกรรม ครั้งละ 1 เล่ม แล้วทำแบบทดสอบท้ายเล่มของแต่ละเล่ม โดยทำการทดลอง 7ครั้ง โดยดำเนินการทดลองตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ถึง มกราคม 2560
3. ทำการทดสอบหลังเรียน (Posttest) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านลานหิน จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 12 คน ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ
4. นำแบบสอบถามความพึงพอใจไปสอบถามนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านลานหิน จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 12 คน หลังจากที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรียบร้อยแล้ว
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้รายงานได้ดำเนินการ ดังนี้
1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังเรียน โดยการทดสอบค่าที t test แบบ Dependent Sample กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
2. สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3. ผลการวิจัย
1. ผลการหาประสิทธิชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.14/81.55 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.80, S.D. = 0.40)
4. อภิปรายผล
ผลการหาประสิทธิชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.14/81.55 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 เนื่องจากชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความน่าสนใจ ทั้งในด้านเนื้อหา กิจกรรม และภาพประกอบที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 2 ทั้งนี้เป็นเพราะผู้จัดทำได้วางแผนการจัดทำชุดกิจกรรมตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ โดยได้มีการศึกษาตามทฤษฎีต่างๆ ทำให้ชุดกิจกรรมมีความหลากหลาย มีทั้งการทำงานกลุ่มและเดี่ยว ปฏิบัติการทดลอง การเรียนรู้อย่างหลากหลายจากสื่อมัลติมีเดีย รวมถึงกำหนดให้มีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งสืบค้นต่างๆ มีการปฏิบัติจริง ดังนั้นจึงน่าจะเป็นสาเหตุให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ที่ดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ ชัชพิชฌา วรวงศ์ (2553, บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนสองห้องพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.33/83.78 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 เช่นเดียวกับ สุวพร พาวินิจ (2555, บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผลการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และแผนผังมโนทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 2 เชิงชุมอนุชนวิทยา สังกัดเทศบาลเมืองสกลนคร ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.60/79.81 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะ หาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ทั้งนี้ การที่ชุดกิจกรรมที่ผู้รายงานสร้างขึ้นทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เนื่องมาจากเหตุผล ดังนี้ ชุดกิจกรรมที่ผู้รายงานสร้างขึ้น เป็นชุดกิจกรรมที่มีกิจกรรมหลากหลายให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ นักเรียนมีโอกาสร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน ร่วมแก้ปัญหาในการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มจนเกิดการเรียนรู้ โดยมีครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิด นักเรียนได้ค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง และจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ชัดเจน ก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงและมีความก้าวหน้าในการเรียนมากยิ่งขึ้น การจัดกิจกรรมโดยการนำสื่อการสอนที่หลากหลายมาใช้ ซึ่งการนำสื่อเข้ามาใช้ในการสอนมีผลทำให้นักเรียนเกิดความสนใจในการเรียน เกิดความสนุก ทำให้นักเรียนเรียนรู้เนื้อหาที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้น นักเรียนมีโอกาสได้แสดงศักยภาพความสามารถและความถนัด เพราะชุดกิจกรรมแต่ละชุดมีกิจกรรมที่นักเรียนต้องทำแตกต่างกันไป โดยนักเรียนจะเป็นผู้ แสวงหาความรู้และปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจ สามารถสร้าง องค์ความรู้ของเนื้อหาได้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้ ฝึกทักษะการสังเกต มีเหตุผล มีความรอบคอบ มีความอดทน เมื่อนักเรียนประสบผลสำเร็จจะเกิดความภาคภูมิใจ เชื่อมั่นในตนเอง มีกำลังใจ เกิดความกระตือรือร้นตั้งใจแสวงหาความรู้มากขึ้น นอกจากนี้ผู้รายงานยังได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยส่งเสริมให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งมีขั้นตอนไม่ซับซ้อน และเข้าใจง่าย นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ชัชพิชฌา วรวงศ์ (2553, บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนสองห้องพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เช่นเดียวกับ สุวพร พาวินิจ (2555, บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผลการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และแผนผังมโนทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 2 เชิงชุมอนุชนวิทยา สังกัดเทศบาลเมืองสกลนคร ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และแผนผังมโนทัศน์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = 0.48) ทั้งนี้เป็นเพราะผู้รายงานได้สร้างชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยมีการวิเคราะห์เนื้อหาและจัดเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยๆเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายาก มีเนื้อหาสาระที่ชัดเจนเข้าใจง่าย มีความต่อเนื่องตามลำดับขั้นตอน ใช้ภาษาได้เหมาะสม มีสีสัน และภาพประกอบที่ช่วยให้นักเรียนมีความสนใจมากขึ้น กิจกรรมการเรียนรู้ทุกกิจกรรมเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้ตรวจสอบความรู้ และทราบคะแนนของตนเองทันทีหลังการทำกิจกรรม จึงช่วยให้นักเรียนใส่ใจในการเรียนและเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบต่อการเรียนด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับของ ชัชพิชฌา วรวงศ์ (2553, บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนสองห้องพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ผลความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เช่นเดียวกับ สุวพร พาวินิจ (2555, บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผลการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และแผนผังมโนทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 2 เชิงชุมอนุชนวิทยา สังกัดเทศบาลเมืองสกลนคร ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และแผนผังมโนทัศน์อยู่ในระดับมาก
อ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติการศึกษา
ภาคบังคับ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กองวิจัยทางการศึกษา. (2543). การวิจัยและพัฒนาศักยภาพของเด็กไทย. กรมวิชาการ :กระทรวงศึกษาธิการ.
กัญจนา วิทย์ศลาพงษ์. (2554). การเรียนรู้มาตรฐานคุณภาพและการประเมิน. กรุงเทพฯ :
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
จิรวนา เสงี่ยมศักดิ์. (2554). การพัฒนาชุดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บุรีรัมย์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ชัชพิชฌา วรวงศ์. (2553). รายงานผลการปฏิบัติการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ว22101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2553. บุรีรัมย์ : โรงเรียนสองห้องพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนยหนังสือจุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย.
สำลี รักสุทธี. (2544). เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนและเขียนแผนการสอน โดยยึดผู้เรียนเป็น
สำคัญ. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.
สุวพร พาวินิจ. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร โดยใช้ กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และแผนผังมโนทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วีรพร ลาทอง. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการ เรียนรู้ 5 ขั้น เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือดกบการรักษาดุลยภาพของร่างกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.