ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
โรงเรียนบ้านบุ่งเบ้าห้วยเจริญ
ผู้ศึกษา เยาวนาฏ พรรณานนท์
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2559
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโรงเรียนบ้านบุ่งเบ้าห้วยเจริญ มี จุดมุ่งหมายเพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโรงเรียนบ้านบุ่งเบ้าห้วยเจริญ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 2) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการ 3) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ 4) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการ 5) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ
6) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลและความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ในด้านสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการและผลผลิตของโครงการกับสิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งมีวิธีการดำเนินการประเมินโครงการ โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองที่เรียกกันทั่วไปว่า CIPP Model ของ แดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daneil L. Stufflebeam. 2004 : 245 - 266) เป็นแนวทางในการประเมิน 4 ด้าน 1) ด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) 3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 4) ด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 คน ประกอบด้วย 1) นักเรียน จำนวน 12 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจงเฉพาะนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นละ 4 คน ในปีการศึกษา 2559 2) ครูผู้สอน จำนวน 4 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน จำนวน 7 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 12 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งจากผู้ปกครองนักเรียนใน (1) ซึ่งระยะเวลา ที่ใช้ในการดำเนินงาน โครงการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนบ้านบุ่งเบ้าห้วยเจริญ ใช้ระยะเวลา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 ถึง 27 มีนาคม 2560 และดำเนินการประเมินโครงการโดยใช้ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบตรวจสอบรายการ 4) แบบประเมินตนเอง มีการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้เกี่ยวข้องโครงการ
1.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวนชั้นละ 4 คน รวมจำนวน 12 คน
จากผู้ให้ข้อมูลที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 34 ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจงเป็นตัวแทนสำหรับตอบแบบสอบถาม
1.2 ครูผู้สอนทุกคนในโรงเรียน รวมจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 12 จากผู้ให้ข้อมูลที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
1.3 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน จำนวน 7 คน จากผู้ให้ข้อมูลที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด โดยไม่รวมผู้บริหารและตัวแทนครู คิดเป็นร้อยละ 20
1.4 ผู้ปกครองนักเรียนที่เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โดยเลือกแบบเจาะจงจำนวน 12 คน ซึ่งได้จากผู้ปกครองในข้อ 1 จากผู้ให้ข้อมูลที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 34
2. ผลการประเมินจากผู้เกี่ยวข้องทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
2.1 ด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) เป็นการประเมินวัตถุประสงค์ของโครงการ ว่ามีความสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนและความต้องการของครูโรงเรียนบ้านบุ่งเบ้าห้วยเจริญ
ความคิดเห็นของนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน ด้านสภาวะแวดล้อม ของโครงการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนบ้านบุ่งเบ้าห้วยเจริญพบว่าคามคิดเห็นด้านความคาดหวังของโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ( = 4.29) และสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ( = 4.62) (เกณฑ์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50)
2.2 ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นที่นำมาใช้ในการดำเนินโครงการ ซึ่งประกอบด้วย บุคลากร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณ ความคิดเห็นของนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอนของโรงเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ด้านปัจจัยเบื้องต้น ของโครงการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนบ้านบุ่งเบ้าห้วยเจริญพบว่าคามคิดเห็นด้านความคาดหวังของโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ( = 4.94) และสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ( = 4.67) (เกณฑ์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50)
2.3 ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมของโครงการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคของโครงการ
ความคิดเห็นของนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอนของโรงเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนบ้านบุ่งเบ้าห้วยเจริญพบว่าคามคิดเห็นด้านความคาดหวังของโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ( = 4.80) และสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ( = 4.73) (เกณฑ์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50)
2.4 ด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) เป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์
ของโครงการโดยพิจารณาจากการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการว่าบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
มีผลผลิตจากโครงการอะไรบ้าง ความคิดเห็นของนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ของโรงเรียนครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน ด้านผลผลิต ของโครงการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนบ้านบุ่งเบ้าห้วยเจริญ จากตารางที่สรุปผลได้ว่าบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังและสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการในด้านผลผลิต พบว่าคามคิดเห็นด้านความคาดหวังของโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ( = 4.89) และสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ( = 4.64) (เกณฑ์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50)
3. ผลการประเมินตนเองเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจและความสามารถที่นำไปปฏิบัติของโครงการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนบ้านบุ่งเบ้าห้วยเจริญพบว่า การประเมินตนเองของนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการสูงกว่าเกณฑ์ ( = 4.65)
และสามารถนำไปปฏิบัติได้มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ( = 3.60) (เกณฑ์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50)
4. ผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลและความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ในด้านสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการและผลผลิตของโครงการกับสิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง พบว่า บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงจากโครงการ ในด้านสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการและผลผลิตมีความสัมพันธ์กันทุกด้าน กล่าวคือ เมื่อมีความคิดเห็นในด้านสภาวะแวดล้อมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความคิดเห็นด้านปัจจัยเบื้องต้น อยู่ในระดับมากที่สุด ก็ย่อมมีความคิดเห็นในด้านกระบวนการและด้านผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุดด้วยเช่นกัน
สรุปได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเมื่อความคิดเห็นในด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ทำให้ส่งผลถึงปัจจัยเบื้องต้นของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ในเมื่อปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน โครงการมีความเพียงพอ เหมาะสมในระดับมากที่สุด ทำให้การดำเนินงานโครงการสามารถดำเนินการได้ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน และย่อมส่งผลให้เกิดขึ้นจริงหรือสิ่งที่ได้รับจากโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด