บทคัดย่อ
ชื่อผลงาน การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้ศึกษา นางทรูไลลา มะเก
ปีที่ศึกษา 2559
.............................................................................................................................................................
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 13)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1ที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนในภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2559โรงเรียนบูกิตอิสลามียะห์จำนวน 36 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ประกอบด้วยเครื่องมือ 4 ชนิด ได้แก่
1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 จำนวน 10 แผน
2) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 จำนวน8 ชุด
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องหน่วยของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 จำนวน 1 ฉบับ มี 40 ข้อ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องหน่วยของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า
1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องหน่วยของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 82.96/83.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องหน่วยของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1เมื่อทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 9.39 คิดเป็นร้อยละ 23.47 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 34.36 คิดเป็นร้อยละ 85.90 จากการทดสอบด้วยสถิติทดสอบ t พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2
3) ความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย ( μ ) เท่ากับ 4.68และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( σ ) เท่ากับ 0.45 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3