ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้รายงาน นางน้ำผึ้ง สาลี
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนวัดนาขาม
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนวัดนาขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวน 7 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เนื่องจากผู้รายงานเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ประกอบด้วย แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 ชุด ๆ ละ 2 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า t (t-test dependent)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 88.77/85.24 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 3.90, S.D. = 0.39)